Home ข่าวสารสมาคม โครงการประกวดบทความข่าวเชิงวิเคราะห์“รางวัลบทความป๋วย อึ๊งภากรณ์”

โครงการประกวดบทความข่าวเชิงวิเคราะห์“รางวัลบทความป๋วย อึ๊งภากรณ์”

by admin
1738 views

สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ เชิญสมาชิกสมาคมฯร่วมส่งบทความข่าวเข้าประกวดในโครงการประกวดบทความข่าวเชิงวิเคราะห์ชิงรางวัล “รางวัลบทความป๋วย อึ๊งภากรณ์” พร้อมเงินรางวัล  กำหนดส่งผลงานเข้าประกวดเดือนพฤศจิกายน 2564 – วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565

ผลงานที่ส่งสามารถเป็นผลงานที่เขียนขึ้นใหม่ หรือเป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์มาแล้วในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564

หลักการและเหตุผล

โครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขของการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งมีซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลกระทบกับผู้คนในวงกว้างมากขึ้น ดังนั้นข่าวเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาข่าวเศรษฐกิจยังได้รับความสนใจจากสังคมในวงจำกัด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเข้าใจของผู้คนที่มองว่าข่าวเศรษฐกิจเป็นเรื่องไกลตัว อีกประการหนึ่งมากจากการนำเสนอข่าวสารทางด้านเศรษฐกิจยังไม่เป็นที่น่าสนใจพอที่จะให้คนทั่วไปหันมาอ่านข่าวเศรษฐกิจ
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จึงมีแนวคิดที่จะจัดโครงการประกวด “บทความข่าวเชิงวิเคราะห์” ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะในการนำเสนอข่าวด้านเศรษฐกิจ เพื่อคนในสังคมส่วนใหญ่ได้หันมาให้ความสนใจกับข่าวเศรษฐกิจมากขึ้น โดยบทความที่ได้จากโครงการนี้จะได้รับการเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ทั้งในส่วนที่ดำเนินการโดยสมาคมฯ และสื่อต้นสังกัดของสมาชิก ซึ่งจะทำให้สังคมได้รับรู้เกี่ยวกับข่าวเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

รายละเอียดโครงการ

ความหมายของ “บทความข่าวเชิงวิเคราะห์” คือ บทความที่มีรายละเอียดข้อมูลรองรับหรือสนับสนุนการวิเคราะห์ประเด็นหลักอย่างรอบด้าน และข้อมูลเหล่านั้นต้องมีแหล่งที่มาชัดเจน
1. ลักษณะประเด็นบทความ
ทั้งนี้โครงการฯ เปิดกว้างในประเด็นหลักของบทความที่ส่งเข้าประกวด โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นประเด็นข่าวเศรษฐกิจเท่านั้น เพื่อให้สอดรับกับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคมฯ ที่ระบุไว้ว่าจะส่งเสริมวิชาชีพสื่อมวลชนสายข่าวเศรษฐกิจ
โครงการนี้เปิดกว้างให้สมาชิกทุกสายข่าวได้ส่งผลงานเข้าประกวด เพราะปัจจุบันข่าวเศรษฐกิจทุกสายข่าวมีความเกี่ยวพันกันทั้งสิ้น บทความที่ส่งเข้าประกวด ต้องวิเคราะห์วิจารณ์ประเด็นหลักได้อย่าง รอบด้านและตรงประเด็นที่สุด รวมทั้งเป็นประเด็นที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด
2. คุณสมบัติผู้ส่งบทความเข้าประกวด
2.1 เฉพาะสมาชิกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ
2.2 ส่งบทความในนามบุคคล หรือกลุ่มไม่เกิน 3 คน

หลักเกณฑ์การตัดสิน

1. บทความที่วิเคราะห์วิจารณ์ประเด็นหลัก (หัวข้อบทความ) ได้อย่างรอบด้านและตรงประเด็นที่สุด
2. เป็นบทความที่สร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม
3. เนื้อหาง่ายต่อการทำความเข้าใจ
4. คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
5. คณะกรรมการตัดสินจะไม่ทราบว่าบทความเรื่องนั้นเป็นของใคร

เงื่อนไขการส่งประกวดชิ้นงาน

ทั้งนี้ เนื่องด้วยสมาชิกของสมาคมฯประกอบด้วยสื่อทุกสาขา โดยหลักๆ ประกอบด้วยสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และเว็บไซด์ ดังนั้นเพื่อเปิดกว้างให้สมาชิกในทุกสื่อได้แสดงความสามารถ จึงได้แบ่งเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การตัดสินตามความเหมาะสมของสื่อแต่ละประเภท ดังนี้
สื่อสิ่งพิมพ์ กำหนดว่าบทความที่ส่งเข้าประกวดต้องมี เนื้อหาความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4 (ไม่รวมตาราง/ภาพประกอบ) ตัวพิมพ์ Angsana New ขนาด 16 ตัวอักษรปกติ ต้องประกอบไปด้วยเอกสารอ้างอิง แหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ประเด็นทั้งหมด
สื่อโทรทัศน์ เป็นชิ้นงานเทปโทรทัศน์ ความยาวไม่เกิน 5 นาที (เมื่อรวมกับโปรยผู้ประกาศก่อนเข้าสกู๊ปข่าวต้องไม่เกิน 5.30 นาที) และเอกสารคำบรรยายพร้อมเอกสารอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
สื่อวิทยุ ส่งเป็นเทปเสียงความยาวไม่เกิน 5 นาที และเอกสารคำบรรยาย พร้อมแหล่งที่มาของข้อมูล
สื่อเว็บไซต์ ส่งเป็นเอกสารความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4 (ไม่รวมตาราง/ภาพประกอบ) ตัวพิมพ์ขนาด 16 ตัวอักษรปกติ และเอกสารอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

ผลงานที่ส่งสามารถเป็นผลงานที่เขียนขึ้นใหม่ หรือเป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์มาแล้วในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564

ระยะเวลาโครงการ

โครงการนี้ กำหนดส่งผลงานเข้าประกวดอย่างเป็นทางการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 – 7 มกราคม 2565 โดยสมาชิกที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถส่งผลงานเข้าประกวด จากนั้นจะพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการประกวดในเดือนมกราคม 2565 และจะมีพิธีมอบรางวัล ในวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งสมาคมฯ จะนำผลงานที่ได้รางวัลยอดเยี่ยม หรือกรณีไม่มีรางวัลยอดเยี่ยมให้เอารางวัลที่ 1 ลงตีพิมพ์ในหนังสือรายงานประจำปี “ปูมข่าวเศรษฐกิจ”

รางวัล
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจได้รับเกียรติจากสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ มอบรางวัลให้กับผู้ได้รับรางวัลในการประกวด โดยใช้ชื่อว่า “รางวัลบทความป๋วย อึ๊งภากรณ์” ถือเป็นรางวัลที่มีเกียรติและทรงคุณค่าให้กับผู้ได้รับรางวัล ในแต่ละประเภทสื่อ ทั้ง สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และ เว็บไซด์

รายละเอียดของรางวัลมีดังนี้

รางวัลยอดเยี่ยม เงินสด 3 หมื่นบาท พร้อมโล่เกียรติคุณ
รางวัลที่ 1 เงินสด 2 หมื่นบาท พร้อมโล่เกียรติคุณ
รางวัลที่ 2 เงินสด 1 หมื่นบาท พร้อมโล่เกียรติคุณ
รางวัลที่ 3 เงินสด 7 พันบาท พร้อมโล่เกียรติคุณ
รางวัลชมเชย เงินสด 5 พันบาท พร้อมโล่เกียรติคุณ

รายชื่อคณะกรรมการคัดเลือกการประกวดบทความ

1. คุณจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายสื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย
2. รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
3. รศ.ดร.จินตวีร์ เกษมศุข คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม)
4. รศ.ดร.รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
5. คุณอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT)

เงื่อนไขโครงการประกวดบทความเชิงวิเคราะห์
เนื้อหาประกอบด้วย
1. คำบรรยายแนวคิดในการจัดทำบทความที่ส่งเข้าประกวด
2. เหตุผลของบทความที่ส่งประกวดจะก่อประโยชน์ต่อสังคม
3. แหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ทั้งหมด

สื่อสิ่งพิมพ์ และ เว็บไซด์
– บทความความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4 (ไม่รวมตาราง-ภาพประกอบ) ตัวพิมพ์ Angsana New ขนาด 16 ตัวอักษรปกติ
– เอกสารคำบรรยายแนวคิดชิ้นงาน และแหล่งที่มาของข้อมูล
สื่อโทรทัศน์
– เทปโทรทัศน์ความยาวไม่เกิน 5 นาที (เมื่อรวมกับโปรยผู้ประกาศก่อนเข้าสกู๊ปข่าวต้องไม่เกิน 5.30 นาที)
– เอกสารคำบรรยายแนวคิดชิ้นงานและแหล่งที่มาของข้อมูล
สื่อวิทยุ
– เทปเสียงความยาวไม่เกิน 5 นาที
– เอกสารคำบรรยายแนวคิดชิ้นงานและแหล่งที่มาของข้อมูล

ส่วนการตัดสินจะใช้หลักเกณฑ์การตัดสินทั้งสิ้น 5 หลักเกณฑ์ (100 คะแนน) ดังนี้

1.ประเด็นแหลมคม (20 คะแนน)
– What
– Why
2.ข้อเท็จจริงถูกต้อง (20 คะแนน)
– ข้อมูลดี
– มีองค์ความรู้
3.ตรรกะการนำเสนอ (Logic) (20 คะแนน)
4.การใช้ภาษาที่เหมาะสม (20 คะแนน)
– เข้าใจง่าย
– ชวนติดตาม (อ่าน)
– ความถูกต้องทางภาษา
5.ข้อคิดเห็น ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม (20 คะแนน)
– Impact
– Practical