Home กิจกรรมสมาคม สัมมนาความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย

สัมมนาความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย

by admin
300 views

รายละเอียดปาฐกาถาพิเศษของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รวมทั้งเนื้อหาทั้งหมดของการสัมมนาในงาน “คุณเชื่อมั่นเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยมากแค่ไหน?”ที่สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจได้จัดขึ้น เมื่อวันพุธที่ 7 กันยายน 2548 ที่ผ่านมา ณ ห้องอาจารย์สังเวียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ท ่านนายกสมาคมฯ ท่านคณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ท่านกรรมการและผู้จัดการใหญ่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ท่านรองประธานสภาอุตสาหกรรม ท่านอาจารย์ธวัชชัย เลขาธิการสมาคมธนาคาร ท่านแขกผู้มีเกียรติที่เคารพ จะครบ 2 เดือนแล้วที่ผมได้มาอยู่ในตำแหน่งใหม่ คือในตำแหน่งของรองนายกรัฐมนตรีที่ควบกระทรวงพาณิชย์ งานก็หนักเหมือนเดิมเพียงแต่ว่าต้องมีการเดินทางเยอะมาก เพราะว่ากระทรวงพาณิชย์นั้นเป็นกระทรวงที่เกี่ยวข้องการเจรจาทางการค้า และโลกของการเจรจาทางการค้านั้น ในอนาคตมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อประเทศไทย ต่อความมั่งคั่ง และความอยู่รอดของประเทศในระยะยาว

ส ิ่งที่ท่านนายกฯกำชับมามี 2 ด้าน ที่ต้องการให้ช่วยดูแลเป็นพิเศษ ด้านหนึ่งก็คือเรื่องของดุลการค้า อีกด้านหนึ่งก็คือในเรื่องด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ดุลการค้านั้นเป็นเรื่องของความอยู่รอดระยะสั้น การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจนั้นเป็นเรื่องของการอยู่รอดระยะยาว 2 ตัวขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ต้องมีทั้ง 2 อย่าง เน้นระยะสั้นอย่างเดียว ระยะยาวเราจะมีปัญหา ถ้ามองแต่ระยะยาวอย่างเดียว เราจะเพรี้ยงพลั้งในระยะสั้น ฉะนั้นก็คือว่าเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติให้ครบตามภารกิจที่ได้มอบหมาย เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาก็มีการประชุม Bilateral ระหว่างไทย – สิงค์โปร ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 เจตนาของการพบปะประชุมนั้นไม่เพียงแค่กระชับมิตรระหว่างไทย – สิงค์โป แต่เป็นเพราะว่าทั้ง 2 ประเทศนั้นตระหนักในความสำคัญว่าต่างฝ่ายต่างก็มีจุดแข็งในสิ่งซึ่งอีกฝ่ายห นึ่งไม่มี สิงค์โปนั้นมีจุดแข็งในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี ประเทศไทยนั้นมีจุดแข็งในเชิงของการเป็นฐานของการผลิต มี Skill labor มีทรัพยากร พูดง่ายๆ คือมี Diversify ที่กว้างขวาง ทั้ง 2 ประเทศตระหนักร่วมกันว่า สิงค์โป กับไทยนั้นจะมีความหมายบนเวทีโลกก็ต่อเมื่อ อาเซียนมีความหมายในเวทีโลก และอาเซียนจะมีความหมายบนเวทีโลก ก็ต่อเมื่อมวลหมู่สมาชิกต้องมีเอกภาพ และต้องมี Activity มีจุดร่วมด้วยกันในทุกๆ เวทีด้วยการเจรจาไม่ใช่ต่างคนต่างไป ฉะนั้นการใช้นโยบายที่ว่า Thai-Singapore plus X ซึ่ง X คือ ประเทศใดก็ได้ในอาเซียนที่พร้อม ในการที่จะริเริ่มกิจกรรมใดๆ นั้น จะเริ่มทันที โดยที่ไม่ต้องรอความพร้อมของอาเซียนโดยส่วนรวม อันนี้เป็นสิ่งซึ่งสิงค์โปเป็นผู้ริเริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยอดีตนายกโก๊ะจกตง ซึ่งท่านใช้คำว่า ให้ไทยกับสิงค์โปเต้น Tango ไปก่อน ที่เหลือใครพร้อมแล้วก็ค่อยเข้ามาจอย

สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะในอาเซียนนั้น มันมีลำดับของความพัฒนาไม่เหมือนกัน บางกลุ่มประเทศนั้น มีทรัพยากรมาก แต่ขาดความพร้อมในการพัฒนา ไทยนั้นถือว่าเป็น Production base ที่จะเป็นฐานในการผลิต มีความพร้อมในการผลิต สิงคโปร์นั้นเป็น Service Base ด้านเทคโนโลยี และเรื่องของ known how เรื่องของคน และถ้าหากว่าไทยกับสิงค์โปสามารถเต้น Tango กันได้ อันนำไปสู่สิ่งซึ่งคนข้างนอกนั้นมองว่าประเทศไทย หรืออาเซียนนั้นมีพลัง ประโยชน์ก็จะเกิดกับอาเซียนโดยส่วนรวม เพราะฉะนั้นเจตนาก็เป็นเช่นนี้ คนริเริ่มคือ สิงค์โปและผลักดันตลอดเวลาที่อยากให้ไทยกับสิงค์โปนั้น เป็นสิ่งที่เรียกว่า Strategic partnership ซึ่งจะมีการประชุม ครั้งต่อไปอาจจะเป็นช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า สิ่งที่ผมเสนอกับฝ่ายทางสิงค์โปก็คือว่า ผมต้องการให้มีสิ่งที่เรียกว่า Strategic partnership หรือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ คือไม่ใช่มีการประชุมแล้วมีการร่วมกันเป็นโครงการๆ แต่ว่าใน 5 ปีข้างหน้า ไทย – สิงค์โปจะไปทางไหนร่วมกัน แล้วจะร่วมกันอย่างไร แล้วการร่วมกันอันนั้นจะมีผลทำให้อาเซียนส่วนรวมดีขึ้นอย่างไร ทางฝ่ายสิงค์โปให้ความสนใจสูงมาก และให้ความมั่นใจกับประเทศไทยสูงมาก ทั้งอตีตนายกโก๊ะจกตง ทั้งท่านนายกคนปัจจุบัน ท่านหมายมั่นปั้นมือว่าอยากให้ท่านนายกของไทยเป็นแกนนำ แล้วผลักดันให้อาเซียนรุดหน้าไปพร้อมๆกัน เค้ามีความมั่นใจต่อประเทศไทย ถามว่าทำไมเค้าเริ่มมั่นใจต่อประเทศไทย แต่เดิมนั้นสิงค์โปเป็นฐานการผลิตใหญ่แล้วค่อยๆเคลื่อนย้ายเชื่อมโยงกับมาเลเซีย เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย

แต่ในระยะ 4-5 ปี มานี้ สิ่งที่เห็นได้ชัดเลยก็คือว่าประเทศไทยนั้นคือเป้าหมายสำคัญของการเป็นพันธมิตร เหตุผลเพราะอะไร บางเรื่องพูดในที่นี้ไม่ได้ แต่มันเป็นเรื่อง Geopolitic ทั้งหมด เป็นเรื่องของศักยภาพของประเทศ แต่ที่แน่ๆ ไทยกับสิงค์โปจะเป็น Partner กันในอนาคต ย้อนกลับไปไม่กี่วันก่อนนี้มี Bilateral คณะของท่านนายกได้ไปที่ญี่ปุ่นเพื่อไปประกาศเรื่องของ FTA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นส่งสัญญาณมาหลายครั้ง โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 44 ซึ่งพวกผมขึ้นมาดูแลบริหารราชการได้เดินทางไปญี่ปุ่นหลายต่อหลายครั้ง เจตจำนงของญี่ปุ่นนั้นก็มองอยู่ที่อาเซียนนั้นแหละ สิ่งที่เราเรียกว่า อาเซียน First นี้แหละ เพราะว่าถ้าดูประเทศแต่ละประเทศแล้วค่อยข้างเล็ก แต่ถ้าเมื่อไหร่ Pool เข้าด้วยกันแล้วอาเซียนดูสวยงามดูมีพลังขึ้น แต่ในอาเซียนโดยรวมนั้น ญี่ปุ่นมองอยู่ประเทศหนึ่ง ก็คือประเทศไทยที่ต้องการให้เป็น Hub ต้องการให้เป็นฐานแห่งการผลิตของญี่ปุ่นในอนาคตข้างหน้า ในอดีตนั้นเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ามาในอาเซียน ถ้าเราย้อนกลับไปประมาณ 20 – 30 ปี เค้าจะเลือกเมืองไทยเป็นฐานของการผลิตสินค้าบางตัว เลือกมาเลเซียเป็นฐานการผลิตสินค้าบางตัว อินโดนีเซียผลิตสินค้าบางตัว กระจายกันออกไปเพื่อเป็นการเคลื่อนย้ายทุนจากญี่ปุ่นไปสู่ประเทศเหล่านี้ โดยแสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์เล็กๆคือ Skill labor ค่าแรงราคาถูก ในระยะแรกๆเขาอาจจะมีคำถามของเสถียรภาพทางการเมือง เพราะเดี๋ยวก็ปฏิวัติ เดี๋ยวก็ยึดอำนาจ ในขณะที่ประเทศอื่นนั้นค่อนข้างนิ่ง เราถือว่าเราเสียโอกาสในช่วงนั้น

แต่พอ 4 -5 ปีที่ผ่านมาอาการของการไม่นิ่งทางการเมืองไม่มี นโยบายการลงทุนไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีแต่จะดีขึ้น มองไปข้างหน้าเสถียรภาพทางการเมืองก็ยังแน่นหนา และดูไม่ออกว่าจะมีการเปลี่ยนเรื่องของราชการของแผ่นดินของรัฐบาลนี้เมื่อไหร่ ด้วย Majority ที่มีในสภาผู้แทนราษฎรสิ่งเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นเริ่มมองว่าเมืองไทยการเมืองนิ่ง ในขณะที่ประเทศอื่นๆที่เขาเริ่มเข้าไปลงทุนนั้น ญี่ปุ่นเริ่มมองว่าชักจะไม่นิ่ง และที่สำคัญก็คือว่ามันมีของจริงเกิดขึ้นโดยการเคลื่อนย้ายทุนเรื่องของอุตสาหกรรมรถยนต์มาสู่ประเทศไทย

เ รื่องของการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมรถยนต์มาสู่ประเทศไทยมีการเริ่มมาหลายปีก่ อนหน้านี้การเข้าไปชักชวนเขาเข้ามา การชี้ให้เขาดูว่าเมืองไทยนั้นเป็น Gate way ของอาเซียน และอาเซียนไม่ได้เป็นเฉพาะอาเซียนอย่างเดียว ถ้าคุณเชื่อมต่อญี่ปุ่นอาเซียน อินเดีย กับอาเซียน จีนกับอาเซียน พลังของตัวนี้มันมหาศาลมาก ฉะนั้นถ้าญี่ปุ่นต้องการที่กระจายการลงทุน อย่างไรเสียก็ต้องมาที่อาเซียนอีกหนึ่งขา และถ้ามาอาเซียนแล้วประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย เมืองไทยนั้นไม่เป็นที่สองรองใคร เราเฟ้นภาพให้เขาดู เดินทางญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่า 6 – 7 ครั้ง สิ่งที่ตามมาก็คือว่า อุตสาหกรรมรถยนต์เข้ามาจริงๆมาไม่ใช่เข้ามาแค่ประกอบแต่มาทั้ง Cluster ตัวนี้เริ่มเป็นตัวที่นำไปสู่ความหวังครั้งต่อไป ซึ่งวันก่อนนั้นผมก็ได้ร่วมประชุมกับภาคเอกชน ในภาคของอิเลคทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะมองว่าตัวนี้อีกตัวหนึ่งที่ประเทศไทยมีประสิทธิภาพสูงมาก ที่จะดึงให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอิเลคทรอนิกส์ ฉะนั้นประเทศไทยไม่ใช่เป็นแค่ Gate Way ของอาเซียนในฐานะของตลาด แต่มันสามารถเป็น Gate way เป็น hub ของอุตสาหกรรมเฉพาะอย่าง ซึ่งเราคิดว่ามีประสิทธิภาพแห่งอนาคตข้างหน้า ไม่เพียงอิเลคทรอนิกส์ ยังเป็นตัวเคมีคัล แปรรูปเกษตรทั้งหลาย ภาพที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นมันก็ทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นนั้น มีความมั่นใจมากขึ้น เวลาไปญี่ปุ่นแต่ละครั้ง

ผมจำได้ว่าประมาณ 3-4 เดือนก่อน ผมไปญี่ปุ่นครั้งนั้น ผู้ที่เคยมาลงทุนเหล่านั้นทุกคนพยักหน้าเหมือนกันหมดว่า มาเมืองไทยแน่นอนและจะมาเพิ่มขึ้น พอข่าวเรื่อง FTA ประกาศตูมออกไป มีการประกาศการลงทุนเพิ่มทันทีจากหลายๆ กลุ่มธุรกิจที่จะมาประเทศไทย ฉะนั้นการที่ประเทศไทยจะกลายเป็นฐานผลิตใหญ่ของญี่ปุ่น และเป็น Partner ship ทางการผลิตจากญี่ปุ่นนั้น เป็นเรื่องที่ดี ค่อนข้างดีจริงๆที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ย้อนกลับไปอีกช่วงหนึ่ง ผมกับท่านกิตติรัตน์ ไปที่ประเทศจีนไพ่จีนกับไพ่ไทยคือที่เล่นแล้วมีแต่ วิน วินทั้งสองฝ่าย

ผมไปจีนตั้งแต่ครั้งแรกที่ผมดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีครั้งแรก ไล่มาจนถึงปัจจุบันนี้ ไปชวนเขาเข้ามาเมืองไทยสร้างกลไกของการตกลงทางการค้าร่วมกัน ระหว่างท่านรองนายกอู๋อี๋กับฝ่ายไทย Trade volume ขยายมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากมูลค่าไม่มากนักวันนี้ 15,000 ล้าน คิดว่าอีก 2 ปี ถึง 40,000 ล้านแน่นอนนั่นคือการค้า แต่การลงทุนขณะนี้เขาเริ่มทยอยกันเข้ามาเริ่มมองว่าเมืองไทยนั้น เป็นอีกทางของการลงทุนคนจีนก็เหมือนกับคนญี่ปุ่นสมัยก่อนพอเริ่มรวยแล้วก็จะเริ่มไปลงทุนต่างประเทศ เวลาจะไปลงทุนต่างประเทศเขาก็ต้องเลือกประเทศที่เขาจะไปลงทุนแล้วสบายใจ หน้าตาคล้ายๆ กัน กฎระเบียบคุยกันได้ อยู่แล้วสบายใจเขาก็มองที่ประเทศไทย แต่ท่านกิตติรัตน์มองอีกขั้นหนึ่งบอกว่า การมาลงทุนแค่ FDI อย่างเดียวไม่เพียงพอ

ในประเทศจีนคนมีเงินมหาศาลเยอะทีเดียว ก็ตั้งใจมาจะชวนเขามาลงทุนในตลาดหุ้นในประเทศไทย จึงมีการจัดทีมจากประเทศไทยนั้นไปโรดโชว์ โดยเอา TOP CEOไปด้วย เราตั้งใจว่า ไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเขาพร้อมเขาก็เข้ามาลงทุนในประเทศไทยก่อนที่อื่นวันนี้ในอาเซียนเขามีให้เลือกตลาดหุ้นสิงค์โป ตลาดหุ้นไทย ตลาดหุ้นมาเลเซียเหล่านี้เป็นต้น แต่เราต้องการพิสูจน์ให้เขาเห็นว่าตลาดหุ้นไทยนั้น ก็ไม่ได้เป็นที่สองรองใคร วันนั้น CEO ทั้งหลายไปด้วยกันก็สร้างความประทับใจกับผู้ใหญ่ของเขา ท่านรองนายกอู๋อี๋ ก็เลี้ยงข้าวพวกเรากัน ฉะนั้นความสัมพันธ์ไทยกับจีนนั้นแนบแน่น สิ่งสำคัญที่เราต้องการทำขณะนี้ก็คือว่า เมื่อเขามองเราเป็นหุ้นส่วนที่แท้จริง ถ้าเขามองเราทั้งเชิงการเมืองและเชิงการค้าเป็นเสาหลักของอาเซียนของเขา เราก็ต้องรุกทีละมนทล ทีละมณทล เพราะมณทลหนึ่งอย่างต่ำๆ 60 ล้านคน เป็นอย่างน้อย คุณรุกได้มากเท่าไรประโยชน์ก็เกิดขึ้นกับเมืองไทยมากเท่านั้น

แ ละตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ไปมณทลไหนผมไม่เคยเห็นมณทลนั้นละเลยประเทศไทยเลยแ ม้แต่มณทลเดียว ล่าสุดรองนายกรัฐมนตรีพินิจไปที่มณทลฟูเจี๋ยน การต้อนรับดีมากไพ่ใบนี้สำคัญและเป็นไพ่แห่งอนาคตเพียงแต่เราต้องพิสูจน์ให้ เห็นชัดเจนว่าระหว่างจีน ญี่ปุ่นนั้น เราให้ความสำคัญเหมือนกับในฐานะมิตรประเทศไม่มีการเอาเปรียบและทั้งสองประเท ศนี้ล้วนแต่ตัดต่อท่อถึง จีนอาเซียน ญี่ปุ่นอาเซียนทั้งสองประเทศนี้มองอาเซียนคือประเทศไทยคือหัวใจ เมืองไทยก็คือประเทศที่จะเป็นหัวหอกแห่งอนาคตของประเทศเหล่านี้ ผมยกตัวอย่างมา 3 ชุด ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน

เมื่อเช้านี้หนังสือพิมพ์ลงข่าวบอกว่า Quote คำสัมภาษณ์ของอาจารย์ศุภชัย พานิชภักดิ์ ว่าไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนที่สุดในสายตานักลงทุน บริษัทต่างๆที่เป็นบริษัทข้ามชาติ ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่น่าทุนอันดับ 9 ของโลก เป็นที่ 1 ของอาเซียน คนต่างประเทศมองประเทศไทยดีมากๆ มองว่าศักยภาพสูงเป็นอนาคตของอาเซียน อาเซียนจะเข้มแข็งหรืออ่อนแอประเทศไทยมีส่วนสูงมาก กับกรณีอย่างนี้ แน่นอนความสำเร็จส่วนหนึ่งที่ทำให้ต่างประเทศมองอย่างนี้ มันอาจมาจากการวางยุทธศาสตร์ Geopolitic ไม่วาจะเรื่อง Location ที่สมบูรณ์แบบ ที่สามารถเป็นทั้งหัวใจของอาเซียน สามารถเชื่อมต่ออินโดจีน สามารถขึ้นไปสู่จีน สามารถอนาคตต่อไปสู่อินเดีย ส่วนใหญ่มาจาก FTA ที่ทำไว้กลายเป็นอาวุธลับที่ทำให้ศักยภาพมันหอมหวนขึ้นมา แต่เศรษฐกิจก็คือเศรษฐกิจมันอยู่ที่ Bottom line ก็คือพื้นฐานเศรษฐกิจนั้นมันดีจริงหรือเปล่า เรามาที่นี้มาคุยกัน อย่างผมไม่จำเป็นต้องมานั่งโกหกกันว่ามันจริงหรือไม่จริง ว่ามันดีหรือไม่ดี ปี 43 ท่านกรุณาหลับตานึกย้อนกลับไป คนส่วนใหญ่ลืมแล้วว่าปี 43 เกิดอะไรขึ้น ขณะนั้นเป็นอย่างไร หนักกว่าขณะนี้กี่เท่าตัว ตอนนั้นใกล้เจ๊งแล้วนะครับ ถามแบงก์เกอร์ทั้งหลาย ถามท่านธวัชชัยดูสิครับว่าขณะนั้นมันเป็นอย่างไร NPL ท่วมแบงก์ บริษัทล้มละลาย แบงก์ไม่กล้าปล่อยกู้ หนี้สินท่วมตัว แบงก์ชาติตอนนั้นยังหาทางแก้หนี้ไม่ได้เลย ทุกอย่างมีแต่ลบกับลบ ช่วงเวลาเหล่านั้นผมจำได้ว่า มีแต่ข่าวเลวร้ายทั้งสิ้น

แต่ว่ารัฐบาลก็ได้ออกมาพูดขณะนั้น บอกว่าการคาดการณ์นั้น เป็นการดูจากแนวโน้ม ว่าแนวโน้มเป็นอย่างนี้นะ หนี้สินมันเยอะ แบงก์ปล่อยกู้ไม่ได้กลัวความเสี่ยง ข้างในก็ลำบาก ข้างนอกก็ไม่ดี ฉะนั้นนี่คือแนวโน้ม เขาก็พินิจตามความเป็นจริงคือแนวโน้ม แต่คนที่ทำงานอยู่ในรัฐบาล รู้ว่าสิ่งที่เป็นจุดหลวมที่คุณจะมาขันน็อตมันมีมหาศาลเลยจิ้มไปตรงไหนก็นุ่มไปตรงนั้น พอขันน็อตมันก็ขึ้นมา ขันน๊อตมันก็ขึ้นมา พอท่านนายกไล่จี้ ในขณะนั้นทุกอย่างมันก็เริ่ม เครื่องมันเริ่มติด แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญมากๆในขณะนั้นก็คือ ความเชื่อมั่น ความเชื่อมั่นมันหายไปเลย คนมองแค่ว่าเมื่อไหร่มันจะถึงจุดต่ำสุด แต่ไม่เคยถามว่าจะทำอย่างไร ถามคำเดียวว่าเมื่อไหร่จะดีขึ้น แต่ทำยังไงไม่รู้ แต่พอสัญญาณเริ่มออกมาว่า หมู่บ้านนั้นเริ่มมีการดายหญ้า หมู่บ้านนี่เริ่มมีการต่อเติม ความมั่นใจที่เคยหดหายไปนั้นมันก็เริ่มกลับเข้ามาทีละน้อยทีละน้อย แบงก์พอเอาหนี้เสียออกไปอยู่ AMC ช่วงนั้นถูกโจมตีแรงมาก แต่ก็พิสูจน์แล้วว่าถ้าไม่มีตัวนั้น ไม่มีบสท.ป่านนี้แบงก์ก็ไม่รู้จะเป็นอย่างไร ความเชื่อมั่นก็เริ่มกลับมา พอเริ่มมีสัญญาณว่าสามารถแก้ไขหนี้กองทุนพื้นฟู แบงก์ชาติก็สามารถทำกำไรได้ คลังเข้าไปจุนเจือ ทุกอย่างก็เริ่มกลับเข้ามา แล้วก็ออกไปสู่ต่างประเทศ

โ ปรแกรมนั้นเรียกว่าโปรแกรมเมดอินไทยแลนด์ ไปเริ่มสร้างความมั่นใจ เพราะก่อนหน้านั้น Fund Manager ไม่สนใจเลย เขามองว่าถ้าไม่สามารถแก้ไขเรื่องในบ้านของท่านได้ อย่าหวังเลยว่าต่างชาติจะเข้ามาลงทุน อันนั้นใช้เวลา 3-4 ปี และมันก็ดีขึ้น ดีขึ้นจนถึงPeakปี 47 ดัชนีปี47 ดัชนีเศรษฐกิจปี47 ณ ปลายปีเป็นดัชนีที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบในทุกๆดัชนี ไม่ว่าเรื่องของจีดีพี ไม่ว่าเรื่องของเงินเฟ้อ ไม่ว่าเรื่องของเงินสำรอง ไม่ว่าเรื่องของหนี้สินต่างประเทศ หุ้นแรกนั้นไม่เคยมีมาก่อนว่าทุกตัวนั้นที่อาจารย์โอฬารบอกว่านี่อยู่ในไฟเข ียวทุกอันไม่มีไฟแดงเลย ความมั่นใจนั้นเปี่ยมล้น นี่เป็นเรื่องธรรมดา

แต่พอเริ่มปี 48 มันก็มาทีละลูก ลูกเล็กๆ ก็เริ่มกลายเป็นลูกใหญ่ขึ้นมา กี่ลูกไม่ต้องถามเลย ทุกคนตระหนักดี โดยเฉพาะคนที่ทำงานเจอทีละลูกๆข้าวไม่ต้องกิน อิ่มโดยอัตโนมัติ มาแต่ละลูกๆใหญ่ๆทั้งสิ้น ในขณะที่เพื่อนบ้านเราไม่เจอ เราเจอมาตั้งแต่สึนามิ หวัดนก ซาร์ ไล่มาเรื่อยๆเลย และจุดมันก็เกิดขึ้น คือว่า ไตรมาสแรก จีดีพี เหลือแค่ 3.3 จากที่มันเคยสูงระดับ 6% มาหลายๆไตรมาส โดยในช่วงปี 47 และในช่วงสุดท้าย 5-6 เดือนที่แล้วผมจำตัวเลขไม่ได้คือว่าสูงมากโดยถัวเฉลี่ย พอมาเจอ 3.3 ก็เกิดอาการช็อก อย่าว่าแต่ Public shok เลย รัฐบาลก็เหนื่อยใจ ว่าทำไมมันต่ำ จริงๆ 3.3 ไม่ได้ต่ำเลยถ้ามองดูเพื่อนบ้านของเราในขณะนั้น ไต้หวันเหลือ 2.5 เกาหลีใต้เหลือ 2.7 ฮ่องกงเท่าไหร่ผมจำไม่ได้ ไม่ว่าฮ่องกง ไม่ว่าไต้หวัน ไม่ว่าเกาหลี ระนาบเอียงหมดทุกระนาบ แต่นั่นเขาเจอเพียงแค่น้ำมัน กับการส่งออกอิเลคทรอนิกส์ซึ่งมันSlum แต่เราเจอนี่ 4-5 ลูกใหญ่แบบต่อเนื่อง รวมทั้ง 3 จังหวัดภาคใต้ เพราะฉะนั้นผมจึงออกมาบอกว่าพื้นฐานเรานั้นยังดีพอสมควร เงินสำรองเรานั้น 48 49 บิลเลียท ถือว่าโชคดีมากที่4 5 ปีก่อนนั้นเราเก็บไว้เราไม่อีลุ่ยชุยแฉก 48 ตัวนี้มันน่าจะเป็นหน้าตักที่แน่นพอ เรื่องอื่นๆมันน่าจะแก้ไขกันได้

ฉะนั้น จีดีพี 3.3 อย่าไปวอรี่มันจนเกินเหตุ เพราะถ้าวอรี่เกินเหตุ สิ่งที่มันติดลบลงมา พวกภัยแล้ง ไข้หวัดนก พวกสึนามิ ทั้ง 3 จังหวัดภาคใต้ มันจะยิ่งทำให้ การบริโภค กับตัว I Invesment ชะลอตัวลง เพราะความหวั่นเกรง คนไทยเคยผ่าน Paranoid(ความหวาดระแวง)ในช่วงวิกฤตการณ์มาแล้วนี่ ผมจำได้เลยว่าก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตสถาบันการเงิน เวลาเกิดเรื่องเชิงลบขึ้นมา ความวาดระแวงมีน้อยมาก แต่พอเราผ่านช่วงปี 43 ช่วงนั้นมา ความวาดระแวงมันเกิดขึ้นมีอะไรไม่ดีนิดนึงเราสะเทือน ความมั่นใจมันหายไปตั้งแต่ช่วงนั้น รัฐบาลก็พยายามมาชี้บอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น น่าเป็นห่วงนะ แต่ว่าอย่าไปกังวลจนเกินเหตุ ต้องต่อสู้กับมัน แต่ว่าช่วงที่ผ่านมานั้น มองในด้านของความเชื่อมั่นเรารู้สึกได้เลยนะว่าเริ่มถอยลง ไม่เหมือนเดิม แต่ถ้าจู่ๆ เมื่อวานนี้สภาพัฒน์ฯ ก็ออกมาแถลง จีดีพีควอเตอร์ 2 โตถึง 4.4 4.4 เมื่อเทียบกับประเทศอย่างเช่นไต้หวัน จาก 2.5 เป็น 3 เกาหลีไต้ 2.7 ประมาณขึ้นมาเป็น 4 หรือ 3.3 เราขึ้นมาถึง 4.4 มันแปลว่าอะไร มันแปลว่าพอพายุแต่ละลูกที่มาพอมันคลายตัวลงไป ความหลากหลายของการผลิตของเรา

นี่เป็นของดีของเมืองไทย บางประเทศเน้นส่งออกอย่างเดียวสินค้ามีไม่กี่ตัว เวลาเซ เซลุกไม่ขึ้นแต่เรามันมีทางเลือกพอสมควร มันสามารถเบ้าจาก 3.3 มาเป็น 4.4 เราลองมาดูดัชนีที่ออกมา จีดีพี 4.4 เงินสำรองระหว่างประเทศ 48 พันล้านเหรียญ หนี้ต่างประเทศใกล้เคียงกันประมาณ 48.7 พันล้านเหรียญ ฉะนั้นพูดง่ายๆว่าเรามีเงินเพียงพอแน่นอน อาการช็อกอย่างนี้ไม่มีแน่นอน Consumption ดีขึ้น การลงทุนก็ถือว่าใช้ได้โดยเฉพาะตัวเลขการลงทุน ถ้ารัฐบาลทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ 3-4 ปี ข้างหน้า เมืองไทยจะเป็นศูนย์กลางการลงทุน ไม่ว่าเป็นเรื่องของ FDI หรือportfolio แน่นอนโดยเฉพาะ FDI จะไม่มีประเทศใดในอาเซียนเทียบกับประเทศไทยได้เลย ศักยภาพเราพร้อม อยู่ที่ว่าเราละเลยมันหรือเปล่าเท่านั้นเอง สิ่งที่ทำงานหนักมา 3 , 4 ปี ไม่ใช่เหตุผล ส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกยังไปไม่ได้ไกล แต่ที่น่าห่วงคือเรื่องของน้ำมัน นี่คือดัชนีทั้งหมด เงินทุนสำรองแน่นหนา งบประมาณปีนี้สมบูรณ์ 1,000% เป็นครั้งแรกในกี่สิบปี ท่านนับเอาเองแล้วกัน ตอนผมออกมานั่นเดือนอะไร เดือนมิถุนายน เหลืออีกแค่เดือนก.ค., ส.ค., ก.ย., ต.ค., เหลืออีกเดือนหน้า เดือนนี้ก็หมดแล้ว ฉะนั้นสมดุลแน่นอน

ฉะนั้น Bottom line ของฐานะนั้น มันพิสูจน์ว่าถึงแม้ฝ่ายพายุมาขนาดอย่างนั้นมันยืนอยู่ได้ ถึงแม้ว่าจะชะลอในบางช่วง นี่เป็นเรื่องปกติ ต้องชมเชยภาคเอกชนเราเขาต่อสู้ได้ดี ผมก็เลยย้อนกลับมาถามคำถามมากกว่าว่าคุณเชื่อมั่นเศรษฐกิจหรือไม่ ต้องถามว่าทำไมคุณถึงไม่เชื่อมั่นเศรษฐกิจ ทั้งๆที่ผ่านมาบรูฟอย่างนี้ คำถามนี้น่าตอบมากเลย เพราะถ้าเราตอบมันได้นี่ มันช่วยอะไรหลายๆ อย่างทีเดียวผมมองจากตัวผมเองเราค่อนข้างไม่นิ่งในความรู้สึกของเราต่อเศรษฐกิจ ข้อแรก คือพารานอยด์ที่เราเกิดขึ้นในอดีต เราผ่านมาแล้วนี่ความวิตกกังวลยังมีอยู่ เรามีความวาดหวั่นอยู่อันนั่นไม่เป็นไร ในข้อที่สองที่ชัดเจน คือเรื่องของน้ำมัน

วันนี้เรื่องของปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ จริงอยู่มันยังไม่จบ แต่โอกาสที่จะขยายนั่นไม่มีทาง ทำได้แค่นี้ คือ สร้างกำลังพล ดังนั้นน้ำมันคือเรื่องสำคัญ ตอนน้ำมันเข้ามาใหม่น้ำมันอยู่ที่เท่าไหร่ 20 กว่า 30 เหรียญ วันนี้มันทำนิวไฮ เหมือนกับตลาดหลักทรัพย์เลย นิวไฮทุกวันเลย เราเคยมองว่าถ้า 50 เราก็ตายแล้ว แต่นี่มัน 70 แล้วเราก็เคยคุยต่อว่า 80 ถึง 100 ได้เลย พูดเป็นโจ๊ก แต่มันไม่ใช่โจ๊กมันคือความเป็นจริงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะจำไว้ก็คือว่าสิ่งนี้ไม่ไม่ใช่ช็อกเวปที่หมายถึงประเทศไทยประเทศเดียวมันทั้งโลก และมันก็ไม่ได้มาแล้วเมื่อไหร่มันจะลง มันกำลังเซตสิ่งแวดล้อมใหม่ว่ามันจะอยู่แล้วจะอยู่ต่อไป

ห มายความว่าอะไร หมายความว่าปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาที่มาพูดถึงความเชื่อมั่น ฐานเรามีฐานเราพิสูจน์แล้ว เป็นปัญหาที่เราจะต้องถามตัวเองในเรื่องการจัดการ จะจัดการอย่างไรกับนิวเรียลิตี้ ที่เกิดขึ้นกับอนาคตข้างหน้า โอกาสที่จะกลับไปเหมือนเดิม นอนฝันหวานไม่มีทาง เมื่อมันเป็นนิวเรียลิตี้เป็นความเป็นจริงใหม่ขึ้นมาแล้ว สิ่งสำคัญก็คือว่า ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องมองตรงนี้แล้ว ถ้าราคาน้ำมันอยู่อย่างนี้ นโยบายพลังงานจะเป็นอย่างไร มันไม่ใช่เป็นเพียงแค่การประหยัด แต่มันจะต้องเป็นการปรับพฤติกรรมการบริโภคการใช้พลังงาน ในต่อเมื่อคุณเป็นประเทศไม่มีพลังงานเลย คุณเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าต้องนำเข้าพลังงานมากประเทศหนึ่ง ประเทศที่ได้ชื่อว่า ไม่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมากประเทศหนึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่ต้องคิดใ นเรื่องของการปรับพฤติกรรม ไม่ใช่เฉพาะภาครัฐแต่ภาคเอกชน ภาคประชาชน ว่าทำไม ทุกคนไปมองว่าปัญหาหลักคือน้ำมันมันทำให้ขาดดุลการค้า จริงห่วงเลยช่วงแรก ก่อนผมเข้ามามันไปถึง 1.8 พันล้านเหรียญ เรานั่งดูตัวเลขกันแล้วว่า ครึ่งปีนี้เราขาดทุนมาแล้ว-8 พันล้านเหรียญ ดุลการค้าถ้ายังขืน 1.8 หรือว่า 2 ไปไม่ได้ ถึงแม้ว่าเรายังอยู่ 48 ในกระเป๋าแต่มันจะบันทอนความมั่นใจ เราจะกระตุกไม่ขึ้น ฉะนั้นสิ่งที่ทำในขณะนี้ ก็คือว่า ดุลการค้านั้นมันไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี การขาดดุลในบางช่วงนั้นเป็นสิ่งที่ดีเพราะมันสะท้อนถึงกำลังการผลิตที่มีการ อิมพอร์ตเพิ่มการผลิตใหม่ ตัวเลขมันออกมาว่าการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 70 หลายบริษัททีเดียวอยู่ในช่วงการอิมพอร์ตเครื่องจักรเข้ามาเพื่อขยายการผลิต

แต่มันบังเอิญอยู่ในช่วงซึ่งพลังงานราคาแพง เดือนที่แล้ว เดือนก่อน เดือนกรกฎาคม Export ครึ่งปีเฉลี่ยประมาณ 12.4 ที่เติบโต เราเร่งให้มันถึง 17 , 18 แต่กำลังเข้าไปถึง30 ต้นๆ Import พลังงานลดลงแต่ Total Import นั้นยังเติบโตค่อนข้างแรง ถึงกระนั้นเราก็ลดดุลการค้าขาดดุลเหลือแค่ 80 กว่าๆ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ดุลการค้าในช่วงนี้นั้นคุณทำให้เป็นศูนย์หรือบวก พูดง่ายๆ คือว่าต้องเข็นครกกันเลย เพราะบิลน้ำมันแต่ละใบหนักมาก ตัวดุลบัญชีเดินสะพัด ในภาวะปกติมันจะเกินอยู่ประมาณ 300 – 500 โดยเฉลี่ย แต่ถ้าคุณพยายาม Cap ตัวดุลการค้าอย่าให้ขาดดุลเกิน 300 หรือ 500 สู้กับมัน โดยพยายามดัน Export ดู Import คุณก็มีงบดุลจากบริการเข้ามา Cover 300 หรือ 500 ต่อเดือน มันก็จะไม่เป็นลบในเรื่องของบัญชีเดินสะพัด ฉะนั้นที่กระทรวงพาณิชย์สู้เต็มที่อยู่แล้วในเรื่องของการดันการส่งออก และเราก็เชื่อว่าในเดือนที่ผ่านมา คือเดือนสิงหาคมเราจะสามารถดันให้เกินร้อยละ 30 ขึ้นไปให้จงได้ จะ break record แน่นอนเพราะว่าวันนี้ไปดูอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศหัวฟู หัวฟูสมัยเหมือนครั้งหนึ่ง ปลัดสมใจนึก กระทรวงการคลัง ตอนผมเข้ามาใหม่ๆ ผมเรียบแป้เลย สักพักหนึ่งก็หัวฟู เพราะมันจำเป็นต้องหัวฟู เพราะถ้ามันไม่หัวฟูคุณจะลำบาก ว่าหาเงินไม่พอที่จะจ่ายค่านำเข้า การนำเข้าโดยส่วนรวมยังไม่ชะลอตัว มันยังสูงอยู่ และตรงนี้ต้องช่วยกันอย่างมาก

นี่คือระยะสั้นที่ทำได้ คือประคองไม่ให้บัญชีเดินสะพัดขาดดุล ถ้าอย่างนี้เราเซฟ แต่ว่าอนาคต เป็นเรื่องของอนาคต การบริหารจัดการอย่างไรที่จะอยู่ได้ในราคาน้ำมันอย่างนี้ อันนี้ผมถึงดีใจที่วันนี้มีตัวแทนจากภาคเอกชนมาต้องร่วมมือกันเลยจริงๆ ต้องมาเซ็ตเลยว่าแผนการในอนาคตจะทำกันอย่างไร นั่นเป็นข้อสำคัญ ฉะนั้นเรื่องระยะสั้นเราไม่ห่วง อนาคตไม่ใช่เรื่องของความเชื่อมั่น แต่เป็นเรื่องของการที่จะบริหารจัดการ บริหารให้อยู่ด้วย เป็นเรื่องของความมุ่งมั่นที่จะเข้าไปบริหารจัดการ ฉะนั้นเรื่องนี้ไม่ควรเป็นเรื่องที่จะมานั่งตั้งคำถาม 4 ปีที่แล้วคำถามอย่างเดียวกันเหมือนกันมันจะเจ๊งเมื่อไร มันจะพังหรือเปล่า เมื่อไรมันจะฟื้น จุดต่ำสุดหรือยัง วันนี้คำถามคล้ายๆกันมาอีกแล้ว เชื่อมั่นหรือเปล่า มันเป็นเรื่องว่าทุกฝ่ายต้องช่วยกันบริหารจัดการ เพื่อให้เราสามารถยืนอยู่ได้ในอนาคตข้างหน้า

เ รื่องฐานนั้นไม่ต้องห่วงเรามีความหลากหลายอยู่แล้ว แต่สิ่งสำคัญมันยังอยู่คือเรื่องของน้ำมัน ไม่เป็นไรเราช่วยกัน ผมถามตัวเองว่ามันมีเรื่องอะไรอีกที่คนเราทำให้คนไทยยังเกิดความไม่เชื่อมั่ น ข่าวทุจริตคอรัปชั่นหรือเปล่าอาจจะมีส่วน แต่ตรงนี้ท่านนายกเคยบอกแล้วว่า สมัยนั้นสปอร์ตไลฟ์ไม่มี วันนี้สปอร์ตไลส่อง ผู้สื่อข่าวนี้แหละ พอสปอร์ตไลส่องมันก็เห็น แต่ก็ยังน้อยลงเพราะว่าท่านนายกเอาจริงแล้วละครับ ผมเชื่อ และผมเชื่อมั่นละครับว่าในโลกสมัยใหม่สิ่งไม่ดีไม่งามทำได้ยากเพราะความลับไ ม่มี ใครทำสิ่งที่ไม่ดีก็ต้องถูกเปิดเผยแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว แต่สิ่งหนึ่งซึ่งผมภาวนาว่าอย่าให้เป็นเหตุแห่งการไม่เชื่อมั่นเลยก็คือ ความเชื่อใจ ท่านต้องเชื่อใจในคนทำงาน นี่สำคัญเพราะเรามีภารกิจที่ต้องทำงานอีกมาก ประกาศเมกาโปรเจค จริงๆเมกาโปรเจคไม่น่าจะเป็นข่าวที่ใหญ่โตเลย เพราะมันเป็นสิ่งซึ่งต้องมีการลงทุนอยู่แล้ว วงเงินก็ตีกรอบไว้ กระทรวงการคลังก็มีคณะกรรมการการ 1 ชุดขึ้นมาคอยดูแลเฟรมเวิร์คว่าคุณจะลงทุนอย่างไรก็แล้วแต่มาแล้วจะต้องไม่ให ้กระทบกระเทือน Economic Indicator ฉะนั้นมันอยู่ที่ว่าการบริหารจัดการว่าระบบทั้งหมดซึ่งไม่ใช่มาตราสิทธิ์อย่ างเดียว ทุกเรื่องเลย ทั้งเรื่องน้ำ เรื่อง Indicator ทั้งเรื่องบ้าน มันอยู่ที่เฟคลิตี้ของการดูแลว่าอะไรที่ดีที่สุดอะไรที่เหมาะสมที่สุด

แ ละทั้งหมดนั้นจะต้องไม่กระทบกระเทือนโครงสร้างของดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญที่ถ ูกล็อกเอาไว้แล้ว เช่นหนี้ไม่ให้เกินเท่านี้ เช่นทุกตัวเลย แต่คำถามก็คือตั้งตลอดเวลาสิ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งสะท้อนอะไรบางอย่างซึ่งทำให้ไ ม่สบายใจ ถ้าเชื่อใจกันบอกคำเดียวก็คือว่าต้องการทำอย่างดี รัฐบาลชุดนี้ถ้าจะบอกว่าเชื่อเถอะ เชื่อเถอะคงทำอย่างนั้นไม่ได้ แต่ขอให้ท่านดูจากสิ่งที่ผ่านมาดีกว่าว่า ถ้าเป็นรัฐบาลที่ไม่รับผิดชอบ ดุลการคลังจะสมดุลได้อย่างนี้หรือ ทำไมไม่ขาดดุล เงินสำรองมาอยู่ในกระเป๋า 48 พันล้านเหรียญ จากวันที่เกิด วิกฤต เป็นอย่างไร ทุกอย่างพยายามทำมาตลอด ฉะนั้นอนาคตข้างหน้าผมบอกแล้วว่าเรื่องน้ำมันเป็นเพียงเรื่องเดียว แต่เรื่องแห่งอนาคตนั้นมันมีอีกหลายเรื่อง โลกกำลังเปลี่ยน เสรีการค้ากำลังเกิด ท่านไมเคิล อี พรอตเตอร์ เมื่อวันก่อนมาบรรยายที่เมืองไทย พูดไว้ชัดเจน จุดอ่อนเมืองไทยมีอยู่หลายจุด เรื่องของ Product Quality เรื่องของความสามารถเชิงแข่งขัน เรื่องของระบบการศึกษา ซึ่งพวกนี้ถ้าเราไม่ไปมุ่งมั่นที่จะไปทำให้มันดีขึ้น คุณไม่มีทาง Success Economic Growth ของประเทศไทยเลย ปีนี้เราอยู่อันดับที่ 36 แต่ก็ด้วยบุญเก่าที่เรามีอยู่ เจอช็อกไปหลายลูกยังยืนอยู่ได้ แต่อนาคตข้างหน้าเรารู้ว่าจุดอ่อนเรามี ต้องยกเครื่องกัน ต้องช่วยกัน ความมุ่งมั่นเป็นสิ่งสำคัญ ถามว่าในความมุ่งมั่นในการมีฟอร์มมีมั๊ย หรือว่ามองเห็น

แ ต่เรื่องปัญหาวันต่อวัน ถ้าเราเอาเรื่องทั้งหมดดีเทลวันต่อวันโดยไม่บาลานซ์ในอนาคตต้องมีการเตรียมก าร ตลาดหุ้นต้องมีการรีฟอร์ม ต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ มีมูลค่า Pruduct Quality อันนี้จู่ๆเราเนรมิตไม่ได้ มันต้องผลักดัน มันต้องสร้าง ถามว่าสิ่งเหล่านี้นั้นต้องมีความมุ่งมั่น ต้อง มีTrust แปลว่าเชื่อใจ ถ้าเราขาดความเชื่อใจ คิดอะไรก็จบ ทำอะไรก็ไม่มีพลังแล้วประเทศจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไร สื่อมวลชนทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ฉายส่องทุกอณู มีอะไรจะบอกกัน ร่วมมือกัน เอกชนรัฐบาลร่วมมือกัน มาชุมนุมกันเพื่อดู Common Oportunityไม่ใช่ Common Problem ผมเชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ ฉะนั้น คำตอบตรงนี้ผมคงให้เอกชนเป็นคนตอบ แต่สำหรับผมในฐานะที่อยู่ในรัฐบาล เราเชื่อมั่นในพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพราะว่ามันได้พิสูจน์แล้ว แต่ในโลกแห่งอนาคต โลกกำลังเปลี่ยน เราต้องมีความมุ่งมันในการบริหารจัดการในโลกใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ในโลกซึ่งน้ำมันแพง เศรษฐกิจอาจจะมีการชะลอตัว การแข่งขันเสรีทางการค้ากำลังเข้ามา อันนั้นต้องมุ่งมันจัดการ นั่นเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ นั่นไม่ใช่เรื่องเชื่อมั่นหรือไม่เชื่อมั่นก็คงเท่านี้ครับ ขอบคุณมากครับ

วิทยากรประกอบด้วย นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ผู้แทน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย ดำเนินรายการโดย ยุทธนา กระบวนแสง ผู้ประกาศข่าว เนชั่นทีวี

ยุทธนา : ฟังรัฐมนตรีคลังแล้วความเชื่อเชื่อมั่นไหมครับ หรือเชื่อมั่นมากขึ้นไหมครับ

รศ.ดร.เสาวณีย์ : คำถามนี้เท่าที่นั่งฟัง หากทางม.หอการค้า ทำการสำรวจ ก่อนและหลังฟังคงจะมีผลแตกต่างกันไป เพราะทุกครั้งที่ท่านพูดท่านจะเป็นนักพูดที่พูดเก่งมากขึ้นเรื่อย ๆ คล่องมากไม่มีโพย ทุกวันนี้ตัวเองยังต้องมีโพย พูดมานานแล้วเหมือนกัน ทำให้เราเริ่มจะไม่เชื่อมั่นเริ่มจะเปลี่ยนใจ เพราะมันก็ดีไปหมดทุกตัว แต่ท่านพูดถึงความเชื่อใจ ก็คิดเหมือนกันว่าเรากลับไปทำความเชื่อใจแทนความเชื่อมั่นดีมั๊ย เพราะความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่เราทำมันก็เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ แต่ที่ดร.สมคิด พูดว่าตัวเลขเอาตัวเลขมาพูดมายกหลายๆ ตัว ตัวเลขเราค่อยมาพูดกันก็ได้ เหมือนกับจะตบท้ายยกความเชื่อใจ ถ้าเกิดดูตัวเลขหลายตัวไม่น่าเป็นห่วง

แต่ว่าความเชื่อใจที่ท่านพูดหมายถึงอะไร บางครั้งนี่ที่ดูข่าวทุกวัน ท่านพูดถึงประเด็นคอรัปชั่น ที่พูดถึงเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ประเด็นเศรษฐกิจ ความเชื่อใจ เดือนล่าสุดเรื่องตัวเลขก็ออกมาดีขาดดุลก็ดีขึ้น แต่ว่าความเชื่อใจที่ท่านพูดถึงหมายถึงอะไร แต่ถ้าฟังข่าวทุกวันท่านจะพูดถึงการคอร์รัปชั่น ไม่ได้พูดประเด็นถึงเศรษฐกิจด้วยซ้ำไป แต่ความเชื่อใจต้องเชื่อใจว่าคนทำงานตั้งใจทำ

ยุทธนา : ตกลงเชื่อมั่น กับเชื่อใจเรื่องเดียวกันไหม

ดร.เสาวนีย์ : ไม่น่าจะพอมาฟังตอนนี้ คนละเรื่อง ความเชื่อมั่น หมายถึง เสถียรภาพภายนอกและภายใน ภายในดูเงินเฟ้อ ดูการว่างงาน การว่างงานทุกวันนี้เรายังไม่เห็นการ Lay off ถึงแม้ว่าคนจะบ่นว่าเศรษฐกิจไม่ดี ความเชื่อมั่นที่เราสำรวจตกลงเรื่อย แต่ว่าเงินเฟ้อเป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง เพราะทั้งปีควรจะอยู่ที่ ประมาณ 4 หรือ 4.4 up อันนี้มันจะกระทบต่อเสถียรภาพ และบั่นทอนความเชื่อมั่นภายในได้ แต่ว่าความเชื่อมั่นภายนอกคนเค้ามองอะไรบ้าง นักลงทุนจะมองเรื่องของค่าเงินบาท ว่ามันผันผวนไหม แล้วจะมองเงินทุนระหว่างประเทศ ซึ่งท่านก็บอกว่า 48.4 ซึ่งเข้มแข็งมาก และคงจะมองเรื่องการขาดดุลการค้า เงินบัญชีดุลเดินสะพัด เดินทุนสำรอง เราก็ขาดดุลการค้า

เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจแล้ว ก็อาจจะไม่เลวร้ายมาก ถ้าถึงตอนนี้ มันรู้สึกว่าสถานการณ์ในอนาคตจะดีขึ้น ถ้าเทียบกับตอนวิกฤติ ซึ่งเราเคยทำความเชื่อมั่นต่ำมากสำหรับผู้บริโภค ในช่วงของรัฐบาลชุดนี้เคยขึ้นไป 100 กว่า ถือว่าเป็นปกติ แล้วก็ลดต่ำลงมา จากปัจจัยที่รุมเร้า โดยเฉพาะปีนี้ทำให้ความเชื่อมั่นทุกตัวลดลงมาหมด แต่ให้ดูความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้เกี่ยวกับอนาคต สถานการณ์ในอนาคตจะดีกว่าปัจจุบัน หมายถึงคนจะคาดการอนาคตในครึ่งปีหลังอาจจะดีขึ้น รายได้อาจจะดีขึ้น พูดถึงความเชื่อใจก็อีกเรื่องหนึ่ง จะเป็นกระแสที่บั่นทอน เช่นว่า รัฐบาลก็จะมีนโยบายดีๆ เช่น จะลดการขาดดุล

และอีกเรื่องก็คือการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก รัฐบาลแต่ละชุดที่เข้ามาเป็นส่วนใหญ่ไม่ถึง 4 ปี จะทำเฉพาะปัญหาระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น กระตุ้นการบริโภค การผลิต แต่การปรับปรุงการโครงสร้างเศรษฐกิจเป็นเรื่องโหด จะทำเกี่ยวกับระยะสั้นจะดูแลด้านของอุปสงค์ เป็นส่วนใหญ่กระตุ้นการลงทุน ระยะยาวเป็น suppy size คือด้านอุปทาน หากรัฐบาลคิดจะทำ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ หรือปรับกระบวนการผลิต ประกาศออกมาแล้วจะกลายเป็นประเด็น ประเด็นตรงนี้เป็นความเชื่อใจแล้ว หากรัฐบาลคิดจะทำ ปรับโครงสร้าง Infrastruture จะต้องใช้เงินมากถ้าเกิน 1 พันล้านก็เป็นเมกะโปเจ็ค จะไม่เสร็จภายใน 4 ปี และจะต้องใช้เงินมาก หากเป็นหนี้และต้องอธิบายให้กับสาธารณชนทราบ การคอร์รัปชั่น เรื่องนี้เป็นการเชื่อใจแล้ว ถ้าดูเนื้อหา แล้วต้องทำ ถ้าท่านไปคุยกับญี่ปุ่น สิงคโปร์ ต้องคุยได้ แต่ในเรื่องเมกะโปรเจ็คในอนาคต นั้น จะเป็นด้าน suppy size สร้างนโยบายการเงินการคลังเห็นผลระยะยาว ถ้าไม่มีประเด็น ที่ทำงานตลอดก็คือ 4 ปี ซ่อม คำว่าซ่อม คือการกระตุ้นการลงทุน ต่อไปถ้าจะสร้าง ไม่มีประเด็นความเชื่อใจ ส่วนการเชื่อมั่นก็จะไม่เลวร้าย ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

ยุทธนา : ความเชื่อมั่น ความเชื่อใจยังเป็นเครื่องหมายคำถาม

เกียรติพงศ์ : ผมว่าความเชื่อมั่นกับความเชื่อใจ ความเชื่อมั่นมันชี้วัดได้ด้วยดัชนีต่าง ๆ ในสถานการณ์ความเชื่อมั่น ในความเห็นของผมค่าดัชนีที่รัฐบาลทำเป็น maximum แต่เอกชนทำเป็นมักจะเป็น minimum ต่ำ ซึ่งต้องศึกษาดูให้รอบคอบ ส่วนสินค้าในการส่งออกไปต่างประเทศ เป็นการส่งออกภาคอุตสาหกรรม-การเกษตร ประมาณ 80% เป็นภาคอุตสาหกรรม เป็นภาคเกษตรกรรม 10% และตัวเลขนี้ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ภาคอุตสาหกรรมเจริญเติบโตมั๊ย ในปีนี้ขยายตัวประมาณ 8% ถ้าถามว่าการส่งออกเพิ่มขึ้นไหม การส่งออก เฉพาะส่งออก 15% ช่วงครึ่งปีแรก ประมาณ 13% กว่าๆ ครึ่งปีหลังมากกว่า ซึ่งไม่ต่ำกว่า 15% ปีที่แล้วขยาย 20% พอปีนี้ 15% ตั้งไว้ต้นปี ครึ่งปีหลังจะส่งออกมากกว่าครึ่งปีแรก

ยุทธนา : ไม่ใช่ 20% เหรอครับ

เกียรติพงศ์ : 20% เป็นเป้ารัฐบาล ปีนี้ 15% เราตั้งไว้ ครึ่งปีหลังเราจะส่งสินค้าออกมากกว่าครึ่งปีแรก เพราะเห็นภาพ เพราะเรามองข้ามไปในปีหน้า เราจะมองออกว่าเราจะส่งออกเท่าไหร่ การทำจริงๆ ไม่มีใครทำได้ 100% ได้ประมาณ 70 กว่า% ของกำลังการผลิต ประกอบการการที่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ที่มาจากการลงทุน 3 ภาคด้วยกัน ประกอบด้วย 1. ลงทุนจากคน 2.การลงทุนร่วมกัน 3. การลงทุนของนักลงทุนไทยอย่างเดียว ซึ่งตรงนี้ในภาคของการลงทุนต่างประเทศ มองประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่น่าลงทุนในเอเชีย ในการวิจัยของญี่ปุ่นได้วิจัยออกมาแล้วว่าประเทศไทยน่าลงทุนที่สุด เพราะอุตสาหกรรมของเรามีหลากหลาย ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิกส์ ไทยส่งสินค้าส่งออกประมาณ 33% .ของประเทศ ยอดทั้งหมด 97,700 กว่าล้านดอลล่าล์ 30,000 กว่าล้าน ภาคอิเล็คทรอนิกส์ แต่มองจริง ๆ มาเลเซียส่งออกมากกว่า 2 เท่า เค้าส่งออก 1 แสนสองหมื่นล้าน ครึ่งหนึ่งของอิเล็คทรอนิก ซึ่งมีการสัมมนาว่าทำไมมาเลเซียถึงมากกว่าเราดีตรงไหน สิงคโปร์มีความมั่นคง นโยบาย สิทธิประโยชน์ โครงสร้างภาษี การเจรจา หลังจากนั้นมหาเทขึ้นมา ก็มีการตั้งเป้าขึ้นมา

ประเทศไทยมีความพร้อมหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น แรงงาน สถานที่ แต่รัฐบาลเราแปลกถ้ารัฐบาลเปลี่ยนทีก็เปลี่ยนนโยบาย ถือว่าไม่โก้ ไม่มีการต่อเนื่อง ปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับบ้านเรา จริงๆ แล้วเราได้เปรียบด้านแรงงาน ด้านสถานที่ ความพร้อมมากกว่า แต่มาติดอยู่ที่นโยบายวิเคราะห์กันอย่างนี้ เรามียานยนต์ ซึ่งเวลานี้ทุกยี่ห้อมาลงทุนในเมืองไทยหมดแล้ว ยกเว้น โฟลกสวาเก้น ทางเรื่องปิโตรเคมีก็เห็นภาพอยู่แล้ว ทางด้านอาหาร ด้านยางพาราในอนาคต เราสามารถส่งอาหารทุกรูปแบบออกได้ อุตสาหกรรมเหล็ก พอหลากหลายเรามาเฉลี่ยกันได้ พอถามถึงตอนนี้ว่าอุตสาหกรรมใดมีปัญหา ดูแล้วก็ยัไงไม่มี

มาเลเซียก็มีไฟฟ้า นอกนั้นก็ไม่มีอะไร และถามว่าอุตสาหกรรมใดมีปัญหา เท่าที่พูดถึงภาคอุตสาหกรรมไม่มีปัญหา เสถียรภาพของเศรษฐกิจ คนละอย่างกับเสถียรภาพรัฐบาล ซึ่งเสถียรภาพเศรษฐกิจ เพียงแต่ว่าปัญหามันเกิดจากตรงไหน ตรงที่ว่าน้ำมันแพง แต่ไม่น่าตกใจ เพราะเราไม่ได้แพงประเทศเดียว เพียงแต่ในประเทศจะสามารถใช้ศาสตร์และศิลป์ในการทำงานร่วมกันอย่างไร

ยุทธนา : ภาคธนาคารหลังจากติดตามตัวเลขก่อนหน้านี้และฟังรองนายกพูด ยังคงเชื่อมั่นหรือเชื่อใจ

ดร.ธวัชชัย : ผมเชื่อมั่นก่อนที่จะมาฟังด้วยซ้ำไป ผมขอตอบว่า ผลของการผันผวนที่เกิดขึ้น และมาถามตัวเองว่าพร้อมที่จะรับสถานการณ์นั้นได้หรือไม่ ต้องมาถามว่าจุดยืนของเราอยู่ตรงไหน ผมคิดว่า 4-5 มีการปรับปรุงเรื่องต่าง ๆ เรื่องเล็กเรื่องใหญ่ในระบบสถานบันการเงินมหาศาล บางเรื่องประชาชนอาจจะทราบบางเรื่องอาจจะไม่ทราบ เรื่องที่อาจจะพอทราบกันก็คือการเพิ่มทุน หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นมา ธนาคารต่างๆ ก็ต้องตั้งสำรองหนี้ที่สูญเสียไป ต้องรับรู้ความเสียหาย เสร็จแล้วก็ต้องเพิ่มทุน ได้เพิ่มทุนเป็นระลอกๆ รวมจนถึงขณะนี้ สถาบันการเงินทั้งระบบได้เพิ่มทุนไปแล้ว กว่า 1 ล้านล้านบาท เกิน 20% ของทุน ปัจจุบันสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ 12.6% ถ้าเทียบกับระบบกฎหมายคือ 8.5% เพราะฉะนั้นทุนของระบบสถาบันการเงินขณะนี้เหลือเฟือ ผมคิดว่าตรงนี้เป็นจุดนี้ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าสถาบันการเงินมีความเข้มแข็งพอที่จะรับสถานการณ์ผันผวนที่จะเกิดขึ้น

ส่วนการจัดการ ที่เราพอทราบกันบ้างก็คือ การปรับปรุงระบบการบริหารให้โปร่งใส ไม่ว่าจะเป็นการบริหารแบบบรรษัทภิบาล ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องจริง ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบของกลต. หรือของธนาคารแห่ประเทศไทย ก็มีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา มีกรรมการตรวจสอบอิสระมากน้อยแค่ไหน มีกรรมการตรวจสอบซึ่งเป็นอิสระมากน้อยแค่ไหน ผมคิดว่าทุกแบงก์ได้ทำ คือ ได้มีการจ้างที่ปรึกษาให้คำแนะนำ แต่ละแห่งผมคิดว่าหมดเป็น 10 ล้าน 100 ล้าน ระบบสถาบันการเงินที่ประสบความเสียหายที่ผ่านมา หลายคนอาจจะมองว่าไม่สุจริต อันนั้นก็คงเป็นส่วนหนึ่ง แต่เราต้องเข้าใจว่าความรู้ ความเข้าใจของนักธนาคารสมัยก่อนไม่ได้

เ พราะฉะนั้นความรู้ใหม่ ๆ ที่เราได้มาทำให้ระบบปัจจุบันมีการพิจารณารอบคอบขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ ผมคิดว่าทุกธนาคารจะมีการแยกฝ่ายหาโครงการเข้ามา และฝ่ายวิเคราะห์แยกจากกันในการพิจารณาให้ทั้งสองฝ่ายเสนอข้อมูลแจ้งให้คณะก รรมการพิจารณาให้แน่ใจก่อนค่อยปล่อยสินเชื่อ ผมเชื่อใจว่าสถาบันการเงินมีความเข้มแข็งพอ และมีการพูดกันมากว่าอุตสาหกรรมอสังหาฯ จะมีการร้อนแรง หลายโครงการจะมีการชะลอตัว เท่าที่ติดตามในทุกธนาคาร ปรากฏว่าทำได้ดีมาก ไม่มีธนาคารไหนหลวมตัว การปล่อยสินเชื่อที่ผ่านมากรอบคอบขึ้น ในเรื่องที่ว่าฟองสบู่จะแตกหรือไม่ ผมคิดว่าไม่น่าจะเกิด เพราะระบบธนาคารของเราได้ก้าวไปสู่มาตรฐานอีกระดับหนึ่งแล้ว และภาวะที่ฟื้นขึ้นมาทำให้หลายธนาคารฟื้นตัวขึ้น ผลประกอบการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลายธนาคารได้จ่ายเงินปันผลไปแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว เมื่อมองดูถึงสิ่งที่ได้ปรับปรุงแก้ไขไป คิดว่าการที่เกิดภาวะเศรษฐกิจผันผวนขึ้นในขณะนี้ สถาบันของเรารับได้ สิ่งที่เราพูดกันเมื่อเดือนที่แล้วที่วิตกกันมากคือ ขาดดุลเงินบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลถึง 6 พันกว่าล้าน ความจริงก็ควรจะตกใจเพราะเป็นการขาดดุลครั้งแรก ในช่วง 8 ปี หลังจากเราเกินดุลมาตลอด สถาบันการเงินก็ได้นิ่งนอนใจ แสดงว่าคนไทยทั้งประเทศใช้จ่ายเกินตัว เรามาดูว่าเกินตัวตรงไหน

พอเรามาดูโครงสร้างการนำเข้า มันเป็นน้ำมัน แต่ก็ไม่มากเพียง 16% ล่าสุดลดลง เมื่อผมมาดูตัวเลขเดือนมิถุนายน ผมให้เพื่อนที่ธนาคารกรุงเทพว่ามีสินค้า import ประมาณ 10 รายการที่ import นั้นจะเป็นวัสดุอุตสาหกรรม ดูแล้วในขณะนั้นผมก็มั่นใจมากๆ ไม่มีปัญหา ที่เหลือเป็นการนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมที่เป็นวัตถุดิบ เช่น เหล็ก ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ การนำเข้าสินค้าทุนเพื่อนำมาผลิต ดูแล้วไม่ใช่ปัญหา

พอมาถึงขณะนี้ตัวเลขเดือนกรกฎา ออกมาแล้วว่า ครึ่งหลังต้องดีขึ้นแน่ๆ ส่วนความเชื่อใจนั้นต้องดูตัวบุคคล ผมไม่ได้เชื่อเหมาๆ ทั้งกลุ่ม แล้วแต่ว่าใครพูด ใครทำ

ยุทธนา : กลับมาถึงน้ำมัน น้ำมันแพงขึ้น จะกระทบกำลังซื้อต่อประชาชนมากแค่ไหน

อ.เสาวณีย์ : ประเด็นน้ำมันเป็นประเด็นบั่นทอน เป็นปัจจัยลบที่น่ากลัวมากที่สุด แต่ว่าเหมือนกันคุณเกียรติพงศ์ว่าเหมือนกันหมดทุกประเทศ แต่ว่าการที่รัฐบาลปล่อยไปตามกลไก ทำให้ประชาชนปรับตัว การปรับตัวไปตามกฎของอุปสงค์ ถ้าแพงก็ใช้น้อยลง แต่เป็นสินค้าจำเป็นอย่างที่ทราบกัน เอกชนก็พยายามที่จะปรับปรุงขบวนการผลิต หน้าที่ของเอกชนทุกหน่วยงาน ต้องพยายามรณรงค์ให้สมาชิกของตัวเองพยายามประหยัดพลังงาน หอการค้าเอง ก็มีการรณรงค์ตั้งกรรมการ ต้องพยายามทำให้กระบวนการผลิต หอการค้าจะมีการประชุมให้สมาชิกประหยัดพลังงาน แต่ยังต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาลอาจจะช่วยในด้านภาษีจูงใจ ในการบริหารหอการค้าก็จะยุ่งกับการค้า โดยการบริหารระบบลอจิสติก มีปัญหาด้านขนส่ง ถ้าขนส่งไม่มีประสิทธิภาพก็จะมีค่าใช้จ่ายแพง ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมาก ให้รัฐบาลเข้ามาดูแลเรื่องการขนส่ง ตรงให้กับความต้องการ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะ เพราะต้องใช้เงินเยอะ แต่ยังอยากให้ใช้พลังงานทดแทน อย่างเช่น ก๊าสเอ็นจีวี หลายคนอยากจะใช้ อัตราการเพิ่มการใช้ 500% แต่ว่าจะมีปัญหาตรงที่การติดตั้งแพง ศูนย์บริการมีน้อย รัฐบาลอาจจะมีโรงงานผลิตถัง โรงงานผลิตถังก็จะดีค่ะ อย่างไรก็ตาม ระยะสั้นนี้คงต้องพึ่งพาน้ำมันอยู่ มีผลต่อดุลการค้าเดินสะพัด อย่างไรก็ตามระยะสั้นยังต้องพึ่งพาน้ำมันอยู่

ในครึ่งปีหลังดุลการค้าคงดีขึ้น เพราะการนำเข้าน้อยลง จากกลไกน้ำมันแพงขึ้นตามตลาด คนก็จะใช้น้อยลง พยามยามประหยัด สิ่งที่ต้องทำคือผลักดันการส่งออกลดการนำเข้า ก็มีกระแสผู้ประกอบการ อย่าง เหล็ก ทองคำที่เอาเข้ามาก็เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น การที่เราจะพยายาม คือปัญหาของเราคือ ต้องพึ่งพาการนำเข้า ถ้าเกิดเป็นสินค้าเกษตรไม่ต้องห่วงเพราะ 92% มีในประเทศ แต่ภาคอุตสาหกรรมนำเข้า 40% import สูงหน่อย ตรงนี้อาจจะต้องดูให้ดีเพราะเอฟทีเอที่เราไปจด ต้องดูให้ดี เพราะระยะสั้นจะมีการขาดดุล ซึ่งต้องมีการพิจารณาบริหารจัดการอย่างละเอียดของแต่ละประเทศ แต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เอกชนก็ต้องทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาลให้มาก ถ้าเรากระตุ้นการส่งออกได้ อันนี้เป็นไปตามเป้าหรือเปล่า ต้องให้คุณเกียรติพงศ์ท่านคงให้ข้อมูลได้มากกว่า

จะต้องผลักดันการท่องเที่ยวให้ช่วยดุลบัญชีเดินสะพั ด ดุลบริการอาจจะดีขึ้น อย่างไรก็ตามความเป็นไป รัฐบาลตั้งเป้า 15.7 ล้านคน ในปีนี้ แต่ครึ่งปีแรก มาแค่ 6.3 ล้าน ต่ำกว่าปีที่แล้ว 3.68% หากจะให้ได้ตามเป้า 5 เดือนหลังต้องมาอีก 7 ล้านคน ต้องมีการโฆษณากันให้มากขึ้น การท่องเที่ยวต้องเยียวยาอันดามันว่าเค้าต้องการอะไร ดีที่ครม.สัญจรไปใกล้ชิด แต่ถ้าท่องเที่ยวเป็นไปตามเป้าได้ ก็จะช่วยบัญชีเดินสะพัดและดุลการค้าได้

ดูเรื่องของการกระตุ้นทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกำลังซื้อของเอกชน การบริโภคหรือการลงทุน เชื่อมั่นลดลง แต่ก่อนวิกฤติ มากปัจจุบันต่ำลงวิกฤติมาก 90 เทียบกับก่อนวิกฤติไม่ได้ อย่างไรก็ตามความเชื่อมั่นจะอยู่เบื้องหลังทุกตัว ไม่ว่าจะเป็น การบริโภค หรือว่าการลงทุน ถามว่าปัจจุบันเรามีรายได้เท่าเดิม ความเชื่อมั่นหายไป ก็ไม่กล้าที่จะใช้จ่าย ภาคเอกชนก็คงไม่สามารถกระตุ้นได้ ภาครัฐจะต้องช่วยกันกระตุ้น

เพราะฉะนั้นความเชื่อมั่นลดลงในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐต้องดูเกี่ยวกับการใช้จ่าย ก็ดูมาตรการมงฟอร์ต บอกว่าไม่ว่าจะขึ้นเงินเดือนข้าราชการ หรือว่าค่าจ้างขั้นต่ำก็ตาม มันจะทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาใน 6 เดือนหลัง ประมาณ 4-5 หมื่นล้าน แต่สิ่งที่บั่นทอนให้กับผู้บริโภคคือน้ำมัน น้ำมันขึ้นราคาประมาณ 9 บาทต่อลิตร แต่ละวันใช้ 60-70 ล้านต่อวัน คูน 9 ห้าร้อยล้านบาท คูนเดือน หมื่นห้า คูนเข้าไปอีก 6 เดือน ก็เป็นแสนล้าน เพราะฉะนั้นเม็ดเงินที่บั่นทอนกำลังซื้อของคนเข้าไปแล้วแสนล้าน ถ้าคิดตามมาตรการมงฟอร์ต ก็ไม่อาจจะช่วยให้เป็นปกติได้

สิ่งที่ต้องทำที่ค้างจ่าย งบประมาณที่ค้างจ่ายเหลื่อมปี รัฐบาลต้องพยายามออกมาจ่าย ต้องออกมาทำ ออกมาทำให้มากที่สุดก็จะดีมากขึ้น ครึ่งปีนี้ก็จะดีขึ้นมาก

ยุทธนา : ในอนาคตเชื่อว่าคนจะมีรายได้มากขึ้นเพราะอะไร

อ.เสาวณีย์ : ก่อนวิกฤติก็ตาม คนไทยมีความหวัง แม้ช่วงวิกฤติ ตอนแรกเราสำรวจจะแย่มาก แต่อนาคตก็จะดีขึ้นแน่ คนไทยเป็นคนมีกำลังใจ ถ้าเกิดปัจจุบันหรืออนาคต เท่าที่สำรวจมา

ยุทธนา : ปิดปั้มเร็วกว่า 4 ทุ่มช่วยอะไรได้

เกียรติพงศ์ : คิดว่าช่วยได้ในระยะสั้น ทำให้คนระมัดระวังการใช้รถน้อยลง ผมคิดว่าจะต้องมองระยะยาว เรื่องของการบริหารใช้พลังงานให้มากกว่านี้ ประเทศเราพึ่งพาน้ำมันมากเกินไป ทั้ง ๆที่เราต้องมีพลังงานอย่างอื่นมาทดแทน เราจึงประสบปัญหาทุกหย่อมหญ้า ที่ผมยังกังวลก็คือ ด้านประชาชนน้ำมันขึ้น กำลังการซื้อก็ลดน้อยลงไปทำให้การไม่มีการหมุนเวียนด้านการเงิน เนื่องจากน้ำมันขึ้นราคา จึงทำให้เป็นไปตามที่หวัง

ประเทศไทยเรายังไปได้เรื่อยๆ หากเรามีการวางแผนไว้เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เราก็คงไม่มีปัญหาอย่างนี้ เพราะเราไปพึ่งน้ำมันมากเกินไป น้ำมันขึ้น กำลังซื้อลดถอยลงไป จึงส่งผลไม่ให้มีการหมุนเวียนของเม็ดเงิน สิ่งที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจดี คือ ทำให้อุตสาหกรรมขยายตัวขึ้น ส่งเสริมการขายให้เกษตรมีราคาผลิตผล ถ้าดูจากตัวเลขต่างๆ เราจะเห็นว่าความจริงเป็นอย่างไร แต่ว่าเรามีความหวังมากเกินไป พอเกิดวิกฤติการณ์ขึ้นมาก็ทำให้เราตั้งรับไม่ทัน ถ้าเราทำสบายๆ เรายังไปได้อีกไกล เราต้องมีการจัดสรรการตลาด หาบุคลากรที่เก่ง มีความสามารถมาทำให้ถูกกับงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องศึกษาแนวลึกของนักธุรกิจด้านนั้นๆ ไป มีแต่บริษัทใหญ่ๆ ที่มีโอกาสได้ไป จริงๆ แล้วต้องทำงานร่วมกัน บูรณาการ พูดง่ายการทำธุรกิจเหมือนกันทำสงคราม ต้องมีการจารกรรม รู้ข้อมูลลึก รู้เขา รู้เรา ต้องทำให้ได้ โอกาสของบ้านเรายังมีอีกเยอะ ถ้าเศรษฐกิจขยายตัวขึ้น คนก็ไม่ว่างงาน รายได้ก็จะก้าวหน้าขึ้น

ยุทธนา : เป้าส่งออกของสภาอุตฯ ในปีนี้ประมาณเท่าไหร่

เกียรติพงศ์ : เรามีแล้วอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 15% เมื่อครึ่งปี 13 กว่า พอขยายมากกว่านั้น รัฐบาลบอกว่า 20-30 แต่พอเฉลี่ยทั้งปีแล้วก็เหลือไม่ถึง แต่เหลือเวลาแค่ 4 เดือน มองภาพเห็นอยู่แล้วและต้องทำเผื่อถึงปีหน้า

ยุทธนา : อุตสาหกรรมส่งออกประเภทไหนน่าจะได้รับการสนับสนุน

เกียรติพงศ์ : จริงๆ แล้วมันก็มีต้องได้รับการส่งเสริมหลายรูปแบบ เช่นการส่งเสริมการลงทุนต่างชาติ เค้าก็อาจจะส่งไปในกลุ่มในที่มีศักยภาพอยู่ ที่การร่วมทุนก็ร่วมกันได้ แต่สิ่งที่ผมห่วงก็คือนักลงทุนไทย รัฐต้องจำแนกในความช่วยเหลือ ช่วยเหลือนักลงทุนอย่างไร ต่างชาตินี่ก็ให้ความสะดวกสบาย ให้การบริการใช้ได้แล้ว แต่นักลงทุนไทย เงินก็น้อย ตลาดก็ไม่มี ต้องหาแหล่งเงิน หาตลาดให้เค้า ให้ครบวงจร แต่ที่ผ่านมาพอเค้าเป็นผู้ประกอบการแล้วก็ปล่อยละ เงินก็ไม่หาให้ ตลาดก็ไม่หาให้ คนที่เป็นผู้ประกอบการใหม่ที่ขึ้นมา 100 ราย อยู่ได้แค่ 20 ราย ถ้าเราฟูมฟักให้ดีกว่านี้จะดีกว่ามาก มองคนไทยให้มากๆ

ยุทธนา : ย้อนไปถึงราคาน้ำมันขณะนี้ ยังไม่ถึงกับทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องเพิ่มราคาสินค้า

เกียรติพงศ์ : การเพิ่มราคาสินค้า จริงๆ แล้วต้องตามสภาพของต้นทุน การเพิ่มราคาธุรกิจไม่มีใครอยากเพิ่ม เพราะต้องเปลี่ยนกลไกลทางตลาด แต่ถ้าจำเป็นต้องเพิ่มก็ต้องเพิ่ม เพราะการทำธุรกิจต้องมีกำไร กำไรนี่หมายถึงกำไรที่พออยู่ได้ แต่ไม่ใช่ค้ากำไรเกินทุน แต่เราต้องมาดูว่าน้ำมันขึ้นราคาอยู่ตรงไหน ต้นทุนอยู่ตรงไหน ก็คือการขนส่ง ถ้าไฟฟ้า ต้นทุนต้องสูงขึ้นแน่นอน

ยุทธนา : น้ำมันแพงมีคนนำเงินมาฝากน้อยลงไหม และจะทำให้แบงก์ปล่อยสินเชื่อน้อยลงหรือเปล่า

ดร.ธวัชชัย : เท่าที่ดูตัวเลขเงินฝาก 6 ธนาคารใหญ่ เพิ่มขึ้นประมาณ 32,000 กว่าล้าน สินเชื่อเพิ่มขึ้นประมาณ 3 หมื่นล้านเศษ เพราะฉะนั้นก็เป็นภาวะที่ขยายตัวไปตามปกติ แต่ถ้าเราเปรียบเทียบกับสินเชื่อประมาณ 80 กว่า% ก็ไม่เลวนัก นั่นก็คือตัวเลขเมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม ด้านอุตสาหกรรม สถาบันการเงินก็ขยายตัว สถาบันการเงินเป็นผู้ตาม ถ้าภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ปล่อยสินเชื่อไป เป็นหนี้ศูนย์ ดูจากตัวเลข อ่านดูเปรียบเทียบดูแล้วเราอยู่ในจุดที่ไม่น่าห่วง คือ 1. ความจำเป็นที่รัฐบาลไปตั้งงบมาอุดหนุนน้ำมันไม่มี อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้ค่าของเงินมีค่ามากขึ้น 2.ธปท.มีการประกาศปรับดอกเบี้ยขึ้น และค่อยๆ ปรับ เปรียบเทียบกับฟิลิปปินส์ 2 ปี ไม่ได้ปรับ งั้นประเทศที่ยังตรึงนโยบาย เข้าไปโจมตี เราได้เปรียบ ทั้งนี้ ได้ดูจากอินโดนีเซียที่พวก hedge fund ประเทศที่ยังคงตรึงราคาน้ำมัน จะเป็นประเทศเป้าหมายต่อไป แต่เราดูจากตัวแปรแล้ว ผมค่อนข้างสบายใจที่ระบบการเงินเราได้ปรับทิศทางการ การดำเนินนโยบายคิดว่าน่าจะถูกต้อง

ส่วนเมกะโปเจ็ค พูดกันแล้วคิดว่าเข้าใจผิดกัน ที่พูดถึงมีว่า 1.7 ล้านล้าน อย่าลืมว่าเป็นการลงทุน 5 ปี เฉลี่ยแล้วปีหนึ่งก็แสนหกหมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งก็เป็นงบเงินลงทุนปกติ ในจำนวน 1.7 ล้านล้านถามว่าเท่าไหร่ เป็นงบประมาณเพียงประมาณ 38% แล้วก็เป็นเงินจากรัฐวิสาหกิจ 13% เงิน จะเป็นเงินกู้ ประมาณ 48% ดูภาระทางด้านการเงินไม่น่าจะมากเกินไป อยู่ในวิสัยที่รับได้ การลงทุนมาก จะทำให้ฐานะการเงินการคลังขาดเสถียรภาพ คงจะไม่จริง ที่เราคิดว่ารัฐบาลระมัดระวังมากขึ้นไม่ได้ขึ้นอยู่ที่วงเงิน ประมาณ 1.7 ล้านล้านนั้น ขอให้พิจารณาให้ด้วยรอบคอบอีกครั้งหนึ่งว่ามันคุ้มค่าทุกโครงการจริงหรือเปล่า ในฐานะแบงก์เกอร์เราก็ต้องมองดูให้รอบคอบ ผมก็ยินดีที่เห็นมีการปรับนโยบายโครงการของรัฐบาลทันทีเหมือนกัน ทันที่ได้มีการศึกษาละเอียดบางโครงการไม่คุ้มก็มีมติว่าให้ชลอไว้ก่อน ในเรื่องนี้ผมชื่นชอบ ว่าอะไรที่ผิดพลาดไปแล้ว เราก็มีความกล้าหาญก็มีการแก้ไข ถึงแม้จะมีนักลงทุนภาคเอกชน ไปลงทุนล่วงหน้าไว้แล้ว ก็อาจจะมีการขาดทุนบ้าง ผมก็เห็นใจนะ แต่การที่จะให้รัฐบาลเอาเงินภาษีอากรของคนทั้งประเทศไปลงทุนให้กับคนบางกลุ่ม ผมขอเชียร์ว่าถ้าโครงการที่ไม่คุ้มก็ให้ชะลอไว้ก่อน ถ้าตัวเลขต่าง ๆ ดีขึ้นก็ค่อยว่ากันอีกที

ยุทธนา : มีมุมมองอย่างไรเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาล

ดร.เสาวณีย์ : มีการพูดกันมองกันหลายมุมมองนะคะ มาตรการที่ออกมาแล้วเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแต่ก็น่าจะดูหลักการทางความคุ้มค่าเป็นหลัก เอกชนที่จะต้องลงทุนก็จะปรับตัวลำบาก ความเชื่อมั่นนั้นเราสำรวจทั่วประเทศ น่าจะดูหลักการการคุ้มค่ากับการลงทุนเป็นหลัก แต่ทบทวนแล้วสถานการณ์เปลี่ยนไป พิจารณาครั้งแรกที่คิดว่าจะคุ้มแล้ว อาจจะเปลี่ยนไป เอาผลประโยชน์หลักคนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นหลักจะดีกว่า ไม่ต้องแคร์ว่าใครจะร้องเรียนหรือใครจะว่าไงก็ตาม แต่ว่าประเด็นของเมกะโปรเจ็ค จะดูกัน 2 ประเภทคือ Local Content กับ import Content มีผลจาการขาดดุล เพราะเรากังวลเรื่องการขาดดุลการค้า ในปีนี้ดูตัวเลขเงินบัญชีเดินสะพัดไม่เกิน 2% คาดว่าไม่เกินนั้นอย่างนั้น

ถ้าดูแผนเมกะโปรเจ็คของรัฐบาล มองยาวไปถึงปี 52 ต้องระวังเรื่องของ%การขาดดุลจีดีพี ก่อนวิกฤติ เราเคยขาดดุล 8% และดุลเดินสะพัด 7% จีดีพี เราคงไม่อยากเห็นตัวเลขสูงขนาดนั้น ถ้าดูแผนของรัฐบาลปีสุดท้ายต่อจีดีพี สูงสุดก็ไม่ถึง 7% ขาดดุลน้อยที่สุดดีที่สุด เพราะจะกระทบต่อเสถียรภาพความเชื่อมั่นภายนอก เราจะดูเฉพาะเรื่องสำรอง ว่า 48.4 พันล้านเหรียญ ว่ายืนยันแล้วหรือยัง อาจจะไม่ถูกต้อง ต้องดูเดโชของเงินกู้ระยะสั้นด้วย ปัจจุบันเงินทุนสำรองก็ประมาณ 3 เท่ากว่าของเงินกู้ เพราะฉะนั้นไม่เหมือนช่วงวิกฤติ มันต่างกันเยอะมาก ดูแล้วดูตัวเลขทางเศรษฐกิจความเชื่อมั่นไม่น่าจะบั่นทอนมากกว่า แต่ว่ามันเป็นประเด็นเรื่องอื่นมากกว่าที่จะมากระทบ อาจจะมองถึงความเชื่อมั่นในรัฐบาลก็ได้ ก็ต้องมาลงที่เรื่องนี้

อย่างไรก็ตามปัจจัยต่าง ๆ ที่พูดถึงมาทั้งหมด ก็มีปัจจัยน่าเป็นห่วง แต่ในครึ่งปีหลังนี้น่าจะดีกว่าครึ่งปีแรก เพราะฉะนั้นก็น่าจะเป็นข่าวที่ดี

ยุทธนา : การลงทุนมีมติรัฐบาลออกโครงการแต่ละอย่าง มีผลกระทบอย่างไร

เกียรติพงศ์ : เรื่องนี้ก็สำคัญการที่เราไปพูดเป็นนโยบาย เหมือนสัญญาไปแล้ว ต้องศึกษาให้ดีว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน โครงการที่พูดคงไม่ใช่เลิกไปเลยหรอก แต่คิดว่าคงจะเป็นการชะลอมากกว่าการเลิกโครงการไป ตามสภาวะความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินตามความสำคัญและเป็นประโยชน์จากมากไปหาน ้อย อย่างที่จะเอางบประมาณส่วนหนึ่งไปใช้กับการบริหารจัดการน้ำ แทนการจัดสร้างรถไฟฟ้า 2 สาย ซึ่งมันก็เป็นประโยชน์ ต่อไปปัญหาจากเรื่องน้ำมัน จะเป็นปัญหาเรื่องน้ำ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก เพราะหากเดือนนี้ฝนไม่ตกแล้ว และไม่นำเงินไปช่วยตรงนั้น ปัญหาก็จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลกับอุตสาหกรรมทางภาคตะวันออก ซึ่งรัฐบาลก็ได้ใคร่ควรดูแล้วว่าน่าจะนำงบประมาณมาใช้ตรงนี้ก่อน คงเป็นช่วงหาเสียงว่าจะมีรถไฟฟ้า แต่พอไม่มีชาวบ้านมีความหวังว่าจะมีความหวังว่าจะมีรถไฟฟ้าตรงนั้น ก็เสียความรู้สึก เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็ควรจะใครควรให้ดี

ดร.ธวัชชัย : ผมคิดว่าน่าจะเป็นบทเรียนไม่เฉพาะรัฐบาล เอกชนด้วย ในรอบแรกที่มีนโยบายที่จะทำต้องคิดให้รอบคอบ ก็มีแต่ตัวเลข ทำได้ๆ ที่ดีก็คือหากผิดแล้วก็ต้องรับผิด ก็ต้องรับผิด มีการแก้ไข การที่เราจะมาจัดสรรงบประมาณลงทุนต่าง ๆ เพียงเพราะว่านักการเมืองได้ให้ไปคำมั่นสัญญากับประชาชนไว้อันนี้คิดหนัก ในยุคหนึ่งก็จะมีรัฐบาลไปหาเสียง ตามแนวนโยบายทุกจังหวัด ต้องการมหาวิทยาลัย ต้องการสนามบิน หลายๆ จังหวัดก็เดินหน้า ในที่สุดก็ขาดทุนก็ต้องเลิกไป เรื่องการหาเสียงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเข้ามาบริหารประเทศแล้วไม่จำเป็นที่นักการเมืองได้ไปทำตามสัญญากับประช าชนไว้ เค้าต้องกลับไปอธิบายว่าทำไม่ได้เพราะอะไร ไม่ใช่ทำให้ส่วนรวมเสียหาย ณ ขณะนี้ ต้องชะลอไว้ก่อน เรื่องเร่งด่วนกว่านี้ เรื่องเดือดร้อนคือน้ำ มองตามความเหมาะสม ภาวการณ์ ต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าของการใช้เงินด้วย

ยุทธนา : ถ้าพูดถึงสิ่งที่เป็นห่วงมากที่สุดว่าจะกระทบต่อความเชื่อมั่นเศรษฐกิจ 3 อย่าง คืออะไรบ้าง

ดร.เสารณีย์ : ต้องยกให้น้ำมันอันดับ 1 การขาดดุลการค้าน่าจะเป็นอันดับรอง เรื่องค่าเงินบาท .ไม่น่าห่วงเรายังแน่นอยู่ เรื่องของเอกชนน่าจะมอง แต่เอกชนเท่าที่ไปคุยด้วยเค้าต้องการปรับปรุงการขนส่ง ให้มีประสิทธิภาพ ลดตรงโน้นตรงนี้ แต่ไม่มีข้อมูลเลย แม้แต่ภาครัฐ มีประเด็นขึ้นมา มีการพูดกันมาก แต่มันเป็นภาพรวม น่าจะลงไปในรายละเอียดของสินค้าเลย ตั้งแต่ ผลไม้ น้ำตาล ตั้งแต่วัตถุดิบเข้ามา แต่ละขั้นตอนใช้อย่างไร แพงตรงไหน ถ้าทำแบบนี้น่าจะมีการจัดทำตรงนี้ ต้องมีการศึกษาต้นทุน จะลดตรงไหน ซึ่งภาครัฐก็ไม่มีนะ เอกชนก็เริ่มจะทำ มีผลดีด้วยในแง่ที่ว่ากฎ FTA จริงๆ แล้วมีการลดภาษีให้กับปลายน้ำ ผู้ผลิตจะไม่มีให้ตรงนี้ ถ้าเรามีข้อมูลครบถ้วน เราสามารถจะเข้าไปดูด้วยว่าจะต้องพัฒนาอะไรได้บ้าง ตรงนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง อาจจะไม่ได้ประโยชน์ตรงนี้ ถ้าเรามีข้อมูลครบถ้วนตลอดถึง Suppy Chang ของสินค้า แล้วจะสามารถเข้าไปดูได้

อีกประเด็นหนึ่งเรื่องของมาตรฐานสินค้า เช่น การที่เราไปทำ FTA กับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเปิดเรื่องเหล็กให้เรา เรื่องของชิ้นส่วนต่างๆ ชิ้นส่วนยานยนต์ มันก็เป็นผลดีกับเรา วัตถุดิบที่ผลิตเพื่อจะส่งออกก็จะถูกลง ญี่ปุ่นเปิดสินค้าเกษตรให้เรา แต่สินค้าเกษตรที่เราเข้าไป ใช้ภาษีแทบทุกตัว เค้าใช้เกี่ยวกับสแตนดาร์ด เค้าใช้ สินค้าเกษตรของเรามีดีตรงที่มี Local Content สูงมาก มาตรฐานเราก็สู้เค้าไม่ได้ ต้องเป็นวาระ เป็นยุทธศาสตร์

เพราะฉะนั้นระยะยาวต้องดูลายละเอียดของสินค้าและมาตรฐาน ข้อมูลมีความละเอียดมากขึ้นเพื่อจะมาปรับปรุงขบวนการผลิต ที่จะเป็นต่อภาคเอกชน

เกียรติพงศ์ : อาจารย์เสาวณีย์พูดถูกต้องอยู่แล้ว ขอเสริมประเด็นเรื่องของน้ำมัน โอกาสมันสูงขึ้นมาก เราต้องหาวิธีเรื่องการบริหารจัดการใช้ให้มันน้อยลงเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน เรื่องขาดดุลการค้า ผมฐานะสภาอุตฯ ผมก็พูดตลอดเวลาเรื่องตัวเลขวัตถุดิบไม่เป็นไร แต่ตัวเลขที่นำสินค้าสำเร็จรูปที่ประเทศไทยทำได้นี่น่าคิด อย่างเมกะโปรเจ็ค อะไรที่เป็นสินค้าไทยที่พอจะขายได้ บางอย่างเราทำได้แต่ขายไม่ได้และนำเข้าจากต่างประเทศอีกด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมกะโปรเจ็ค ซึ่งเป็นที่จับตาของคนทั่วโลก เท่าที่ผ่านมามีปัญหาเยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า สนามบินสุวรรณภูมิ ว่ามันไม่ถูก สินค้าต้องได้มาตรฐาน ขนาดได้มาตรฐานแล้วยังเข้าไม่ได้ ของที่เข้ามายังสู้มาตรฐานของเราได้ มาสู้กับสินค้าของเรา ภาคอุตสาหกรรมก็มีปัญหา ตอนนี้มาตรฐานอุตสาหกรรมต้องมีการทดสอบอย่างละเอียด ของที่นำเข้าจะต้องทดสอบให้หมด เวลานี้สินค้าเกษตรมีปัญหาแล้ว สินค้าอุตสาหกรรมก็มีปัญหา เรื่องการตรวจสอบค้า ของไทยทดสอบหมด แต่ของต่างประเทศไทยทดสอบ ความรู้สึกเหล่านี้ต้องช่วยเหลือคนในชาติ ถ้าคนไทยรวย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ต้องมีขอบเขต หมายถึงความว่า ให้มีประโยชน์ต่อคนไทยสูงสุด เหมือนสหรัฐฯ ถ้าจะทำอะไร เค้าคำนึงถึงว่าประชาชนเค้าจะได้อะไรบ้าง

ตอนนี้รัฐบาลก็มีความกระตือรือร้นในการแก้ไขน้ำเป็นระบบ ซึ่งก็ขอให้เป็นไปตามกำหนดที่ได้ตั้งไว้ก็แล้วกัน

ดร.ธวัชชัย : ผมคงไม่มีอะไรเพิ่มเติมไปจากวิทยากรทั้งสองท่าน อาจจะมีสัก 2-3 เรื่อง คือ 1 เรื่องซื่อสัตย์สุจริต อันนี้ไม่เฉพาะภาครัฐ ทุกคนในประเทศ เราไปประชุมต่างประเทศเราขึ้นชื่อว่าสุจริต เรื่องนี้เราต้องยอมรับความจริงแล้วหันมามองตัวเอง ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องปรับปรุง อย่านั่งหลอกเลย ว่าคนทั่วโลกเค้ามองกันอย่างนี้ เราจะหาทางแก้ไขอย่างไร แม้แต่คนไทยด้วยกันก็ยังไม่มีความเชื่อใจกันเลย

2.การปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขัน มันพูดง่าย แต่ว่าถามว่าเท่าที่ผ่านมาเราเกาถูกที่คันหรือยัง หลายๆ จุดก็เริ่มไปถูกทิศทาง แต่ว่าเรื่องระยะยาว ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ก็คือการปรับปรุงคุณภาพของคน เมื่อกี้ผมพูดถึงความซื่อสัตย์สุจริตก็เป็นคุณภาพส่วนหนึ่ง เรื่อง Product Quality แต่ว่าถ้าพูดถึงขีดความสามารถ ผมคิดว่าระบบการศึกษาของเราล้มเหลวมาหลายปีแล้ว ถ้าพูดถึงแต่การปฏิรูปๆ เอาเรื่องการเมืองไว้ก่อน ต้องเอาคนเก่งเข้ามา เก่งแล้วต้องมองนอกกรอบ มุ่งเน้นการปฏิรูปการศึกษาดีขึ้น เก่งขึ้น ไม่ใช่ปรับปรุงปฏิรูปการศึกษาแล้วมองว่าจะแบ่งคะแนนฐานเสียงออกไปอย่างไร นั้นนะบรรลัยแน่นอน

อีกจุดคิดว่าอุตสาหกรรมบ้านเรา ในที่สุดแล้วยังไปแข่งขันกับเค้าไม่ได้ เช่นประเทศต่างๆ ที่เราไปจด FTA เค้าร้องเรียนมาตลอดว่าภาษีน้ำเข้าเรายังสูง แล้วมองประเด็นไม่ออก ประเทศเค้าลงมาเหลือศูนย์หมดแล้ว เราก็เชื่อเค้า แต่หารู้ไหมว่าการปกป้องเค้าไม่ใช้ภาษีแล้ว เรายังใช้กันอีก ซึ่งมองว่าโง่มาก เราต้องหันมามองเรื่องภาษีให้มันสมเหตุ สมผล แล้วก็ที่เราพูดมาตลอดว่าอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต้องทำจริงจัง อุตสาหกรรมที่เจอมุ่งการส่งออกคืออุตสาหกรรมต้นน้ำ ตราบไดที่เราไปปกป้องอุตสาหกรรมต้นน้ำ ข้างล่างก็ตาย ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต อุตสาหกรรมที่น่าจะไปได้ไกล แต่ก็มาเจอวัตถุดิบที่ถูกคุ้มครองอย่างมากมาย

เมื่อเช้า คุณเกียรติพงศ์ พูดถึงอิเล็กทรอนิกส์ของมาเลเซีย ทำไมเค้าไปด้วยดี พูดตรงๆ ว่าอินเตอร์ มีเดียร์ กู๊ดของเราแพง ทำๆ ไปแล้วสู้เค้าไม่ได้ แต่ว่าทุกๆ กลุ่มต้องไปด้วยกันนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะมาปรับโครงสร้างภาษี ถ้าบอกว่าทุกๆ กลุ่มไปด้วยกัน มันเป็นไปไม่ได้ มันแบ่งกันไม่ได้ เค็กมันก้อนนิดเดียว แล้วภาษีเลิกซะที แล้วหันมาใช้วิธีการ มาตรฐานสินค้า เวลานี้เราเข้มงวดกับสินค้าที่ผลิตในประเทศ ต่างประเทศเราคุมเค้าไม่ได้ ไม่มีมาตรการควบคุม เช่น อิเล็กทรอนิกส์จากจีนสินค้าถูก คนไทยไม่รู้ก็ไปซื้อมาใช้ ไฟช๊อตบ้าง ก็ไม่เห็นว่าอะไรกัน สินค้าไทยก็สู้เค้าไม่ได้

ยุทธนา : สินค้าอะไรที่คนไทยต้องแก้ไขเร่งด่วน

ดร.ธวัชชัย : ก็คงหนีไม่พ้นการประหยัดพลังงาน ต้องช่วยกันประหยัด พร้อมหรือไม่ที่จะเปลี่ยนสไตล์การดำรงชีวิต บ้านที่สร้างขึ้นมาต้องให้สถาปนิกดีไซต์อย่างไร โครงสร้างแบบไหนที่จะทำให้ประหยัดพลังงานให้มากขึ้น มากกว่าที่จะสร้างมาเพื่อติดแอร์ สร้างจิตสำนึก มีการประกวดมีรางวัล
สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ก็โอเคแล้ว มีรางวัล ถ้าบ้านไหนประหยัดค่าไฟก็ทำถูกแล้ว

ยุทธนา : จุดไหนที่จะอยากให้รัฐบาลทำและแก้ไข

ดร.ธวัชชัย : ผมคิดว่าเรื่องการรักษาเสถียรภาพสถาบันการเงินก็เป็นเรื่องใหญ่ นโยบายที่จะมาปลดหนี้ประชาชน แต่ต้องทำอย่างระมัดระวัง เช่น การปลดหนี้ให้กับประชาชนที่มีหนี้มาก หากเป็นหนี้จากการประกอบการที่ล้มเหลวนั้นสถาบันการเงินก็จะช่วยอยู่แล้ว แต่หนี้ที่เกิดจากการขาดวินัย ในการใช้เงิน อย่างการใช้บัตรเครดิตหลายๆ ใบ นี่สมควรหรือไม่รัฐบาลจะไปล้างหนี้ให้เค้า เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวัง

ผมเห็นด้วยกับการช่วยเหลือสำหรับคนที่มีวินัยในการใช้เงินที่กู้ไป ต้องมาช่วยกันดู แต่อย่าให้การช่วยเหลือทำให้ทำให้คนขาดวินัยในการใช้เงิน

ดร.เสาวณีย์ : เห็นด้วยกับอ.ธวัชชัยมากเรื่องของนโยบายการศึกษา จะให้ Comment นโยบายรัฐบาล ไม่พอใจในการศึกษา เศรษฐกิจเป็นประเด็นรอง ที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร คือทุกเรื่อง คุณภาพของคน คนของเราพูดภาษาอังกฤษได้น้อยแค่ไหน แต่ก็จะทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นการ เด็กสมัยนี้ก็เรียนเลขน้อยลง เลือกได้ก็เลือกเรียนน้อยลง หนีที่จะไม่เรียนเศรษฐศาสตร์ หนีไปเรียนสาขาที่จบง่าย ไม่มีคำนวณ ต้องมีอินโนเวชั่น นักวิทยาศาสตร์จะหมดแล้ว อีกประเด็นหนึ่งฝากคือไม่ใช่แค่เรื่องการส่งออกทางการค้า หาตลาดให้ จะมีทูต CEO ทูตพาณิชย์ ไม่ใช่การอำนวยความสะดวกทางการค้าในภาพรวม จะทบทวนได้หมด เราดูกันเรื่องต้นทุนแล้ว ทำไมถึงไปไม่ได้ มีกฎระเบียบของบ้านเราที่ขัดขวาง หรือว่าเราจะทำอย่างไรที่เค้าจะใช้มาตรการภาษี กีดกันในทางมาตรฐาน เราทำไมถึงเป็นเด็กดี ทุกมณฑลของจีนที่เราทำ FTA วิธีการปฏิบัติไม่เหมือนกันสักมณฑล แต่เราเหมือนกันหมดทุกจังหวัด อะไรต่างๆ เราอาจจะคิดถึงวิธีที่ไม่ใช่การอำนวยความสะดวก เอามาช่วยบ้าง ช่วยคนในประเทศให้เอื้ออำนวยการส่งออกสินค้าให้มากขึ้น

เกียรติพงศ์ : ผมขอพูดถึงคุณภาพของบุคลากร เพราะถ้าประเทศไหนที่จะเจริญต่อไปในระยะยาวนั้น คนจะต้องมีคุณภาพทางการศึกษา มีการอบรม เพราะปัจจุบัน พูดกันตลอดเวลาว่าคนสร้างเครื่องจักร ไม่ใช่เครื่องจักรสร้างคน หมายถึงว่าหากคนมีความสามารถ คนมีความสามารถ สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่คนเราคุณภาพสู้เค้าไม่ได้ ตั้งแต่การศึกษาเบื้องต้น แม้กระทั่งฝีมือแรงงานมีการอบรมต่างๆ มีน้อย ทุกวันนี้ยังมีการในลักษณะการศึกษาตามความพอใจ ไม่ดูแหล่งงานความต้องการของตลาด ไม่ดูว่าอะไรสมควรจะเพิ่มหรือลด วิทยาศาสตร์ทิ้งไปเยอะ แต่ปัจจุบันการเรียนวิทยาศาสตร์หายไปเยอะ

ส ่วนนโยบายรัฐบาล ผมรอการปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจจากรัฐบาลอยู่ ถึงจะแสดงความคิดเห็น เป็นเรื่องๆ ไป ซึ่งไม่ใช่หน้าที่เรา หน้าที่เราก็คือร่วมมือกันช่วยกันร่วมมือกันพัฒนาประเทศชาติ

ยุทธนา : ถ้าเกิดว่าคะแนนเต็ม 10 คะแนนให้คะแนนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยแค่ไหน?
วิทยากรให้คะแนน 7 เต็ม 10 เท่ากัน

และการสัมมนาในวันนี้ก็เป็นการสะท้อนความเชื่อมั่นได้เป็นอย่างดี สำหรับความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย ได้เป็นอย่างดี