Home กิจกรรมสมาคม สัมมนา ” จุดเปลี่ยนการลงทุนโทรคมนาคมไทย “

สัมมนา ” จุดเปลี่ยนการลงทุนโทรคมนาคมไทย “

by admin
476 views

สัมมนา ”จุดเปลี่ยนการลงทุนโทรคมนาคมไทย”
ไอซีที “ไม่ล้มกระดานเดินหน้า 4 สัมปทานมือถือ แต่ไม่ยอมปล่อยข้าราชการข้อฉ้อลอยนวล ยันเอาผิดย้อนหลัง บอร์ด ทีโอที-กสท. ชุดเก่า โทษฐานปล่อยให้ทำสัญญากับเอกชนทั้งๆที่ไม่ผ่าน ครม.

นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง ”จุดเปลี่ยนการลงทุนโทรคมนาคมไทย” ว่าหลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความสัญญาสัมทปานโทรคมนาคม เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมว่า สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หลายคนกังวลว่ากระทรวงไอซีที จะล้มกระดานเฃลยหรือเปล่า ซึ่งก็ยืนยันว่าการลั้มเลิกสัมปทานกับเอกชนไม่ใช่แนวทางที่ กระทรวงไอซีทีจะเสนอต่อครม.แน่ แนวทางของไอซีที คือจะเริ่มต้นด้วยการส่งเรื่องให้คณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคมจำกัด(มหาชน) พิจารณา และเรียกผู้ให้บริการทุกรายมาหารือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวซึ่งยืนยันว่าการดำเนินการให้สัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการเป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535
“ไม่มีการพิจารณาเรื่องของการเพิกถอนสัญญาสัมปทานแน่นอน แม้กฤษฎีกาจะเปิดโอกาสให้สามารถดำเนินการได้ก็ตาม โดยจะพิจารณาและดำเนินการต่างๆให้เป็นไปตามขั้นตอน
ตามที่ พ.ร.บ.ร่วมทุนกำหนด ซึ่งจะยึดหลักการไม่ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ “

ทั้งนี้จากการตีความของกฤษฎีกาในครั้งนี้ ทำให้เอไอเอส กับดีแทค ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 22 ของพ.ร.บ.นี้ คือ มีสัญญาสัมปทานหลักที่สามารถดำเนินการได้ แต่การแก้ไขเพิ่มเติม หลังจากปี 2535 ไม่เป็นไปตาม พรบ. จึงจะต้องตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาตรวจสอบ ส่วนทรูมูฟ และดีพีซี ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 13 และ22 คือ สัญญาไม่มีผลทางปกครอง
ดังนั้นจึงต้องมีคณะกรรมการ 2 ชุด ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดรัฐจะต้องไม่เสียผลประโยชน์ แต่ต้องเป็นธรรมกับผู้ให้บริการ ประชาชนไม่เดือดร้อน และผู้ให้บริการสามารถให้บริการต่อไปได้ โดยทั้งหมดจะดำเนินการไปตามกฎหมายที่มีอยู่
“ การแต่งตั้งคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดนั้น คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็จะมีการพิจารณาในรายละเอียดซึ่งคาดว่าจะกำหนดระยะเวลาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน หลังจากนั้นจึงจะเสนอให้ ครม.พิจารณาต่อไป” รมว. ไอซีที กล่าว
นายสิทธิชัย กล่าวอีกว่า ตนจะให้บอร์ดของทีโอที และ กสทฯ ไปรวบรวมหาหลักฐาน หรือ เอกสาร ที่แสดงให้เห็นว่า บอร์ดชุดที่ผ่านมาเป็นผู้ที่กระทำผิดให้รัฐเสียหาย ซึ่งหลังจากได้มาแล้วให้เสนอเรื่องกลับมาบยังตนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเห็นว่า ผู้ที่เสียหาย ไม่ใช่กระทรวงไอซีที แต่ เป็น ทีโอที และ กสทฯ โดยมีกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นอีกที ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่บอร์ดชุดปัจจุบันต้องพิจารณา ว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร เพราะ ถือเป็นความผิดทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกัน
นอกจากนี้ ไอซีทียังไม่สามารถรับประกันได้ว่าการปรับส่วนแบ่งรายได้ และ อายุสัญญา สัมปทานที่จะมีการเจรจาใหม่ จะไม่มีผลย้อนหลัง ไปยังปี 2536 ซึ่งเป็นที่มีการแก้ไขสัญญา โดยไม่ผ่าน คระรัฐมนตรี (ครม.)หลังจากมี พ.ร.บ. ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินกิจการของรัฐ
พ.ศ.2535
อย่างไรก็ตามเห็นว่าการพิจารณาสัญญาทั้ง 4 ฉบับใหม่ ไม่จำเป็นต้องแล้วเสร็จพร้อมกัน
เพราะหากฉบับไหนมีปัญหาน้อยกว่าก็สามารถดำเนินการก่อนได้ ขณะที่เนื้อหาในสัญญาแต่ละฉบับก็อาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ แต่หากเป็นไปได้ก็ต้องการให้เท่าเทียมกัน โดยการพิจารณาจะยึดสัญญาสัมปทานเดิมที่มีอยู่แล้วประกอบด้วย ซึ่งคาดว่าจะไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก แต่หากในที่สุดแล้วบริษัทเอกชนไม่พอใจผลการพิจารณาของ ครม. ก็อาจจะฟ้องศาลเพื่อขอความเป็นธรรมได้โดยจะ ขึ้นอยู่กับเอกชนและ คณะกรรมการประสานงาน ด้วยว่า จะเห็นด้วยกับ อัตรา ใหม่ และ อายุสัญญาสัมปทานที่ไอซีทีวางกรอบไว้หรือไม่เพราะเรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาด้วย หาก ครม.ไม่เห็นด้วย ก็จะไม่ผ่านความเห็นชอบอย่างแน่นอน โดยคาดว่าในส่วนของหลักการณ์จะแล้วเสร็จ พร้อมเสนอให้ ครม.ได้ประมาณ 5-6 เดือนนับจากนี้
ด้านนายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส กล่าวในกรณีดังกล่าวว่า
ตนไม่อยากให้รัฐไปรื้อฟื้นความลัง เอาผิดกับเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะหากพิจาณาในบทตีความของกฤษฎีกาแล้ว จะเห็นว่าความผิดในการทำสัญญาไม่ได้เกิดจากเอกชน เพราะทั้ง 11 ครั้งที่มีการแก้ไขสัญญาของเอไอเอส แม้ไม่ได้ผ่านครม.แต่ก็ได้ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้พิจาณา โดยหากไอซีทีต้องการหารือถึงทางออกในทุกเรื่อง เอไอเอส ก็ยินดีให้คงวามร่วมมือ
สำหรับกระแสข่าว ที่ไอซีทีอาจจะปรับส่วนแบ่งรายได้ขึ้น จากเดิมที่เอไอเอสต้องนำส่งในทีโอทีปี 20% เป็น 30% เพื่อให้เท่ากับเกิดความเท่าเทียม และ อาจจะปรับส่วนแบ่งรายได้ของดีแทคและทรูมูฟเป็น 30% จากเดิม 25% นั้น นาย วิเชียร กล่าวเพียงสั้นๆว่า การปรับขึ้นให้เอไอเอสไปเท่ากับผู้ประกอบการรายอื่น หรือตั้งไว้ที่ 30% และให้ผู้ประกอบการทุกรายเท่ากันทั้งหมดนั้น
คงอยู่ที่คณะกรรมการประสานที่ตั้งขึ้นว่าจะพิจารณาอย่างไร โดยส่วนตัวของแล้วตนขอศึกษารายละเอียดและความเป็นไปได้ก่อน ซึ่งการตัดสินในสุดท้ายจะอยู่ที่มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของเอไอเอส สุดท้ายหากตกลงหาข้อยุติร่วมกันไม่ได้ คงต้องให้ศาลปกครองเป็นผู้ตัดสิน
ด้าน นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค กล่าวว่า การที่ ดีแทคยอมเพิ่มส่วนแบ่งรายได้จากเดิมทำสัญญาไว้ครั้งแรกจาก 20% เป็น 25% ดีแทคแลกกับ การไม่ผูกขาดคลื่นความถี่ ของ กสทฯ หรือ เปิดทางให้รายอื่นเข้าร่วมดำเนินการได้อีก ดังนั้น หากต้องการให้ จ่ายเพิ่มขึ้น และมีผลย้อนหลัง ย่อมหมายความว่า ดีแทค ต้องได้สิทธิ์ผูกขาด ดังกล่าวกลับคืนมา ซึ่งทรูมูฟ ก็จะไม่สามารถให้บริการได้
นายศุภชัย เจียรวนนท์ หัวหน้าคณะผู้บริหาร และ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าเห็นด้วยที่จะมีการแก้ไขแต่ต้องดูรายละเอียดจาก คณะกรรมการประสานงานที่มาเจรจาด้วยว่า จะสามารถปรับเข้าสู่การแข่งขันที่เท่าเทียมกันได้มากน้อย เพียงใด
แหล่งข่าวกระทรวงไอซีที กล่าวว่า ตามหลักกฎหมาย การปรับ ส่วนแบ่งรายได้และอายุสัญญาสัมปทานใหม่ใน ครั้งนี้ ควรมีผลย้อนหลังไปจนถึงปี 2536 เนื่องจากคณะกรรมการ กฤษฎีกาตีความ ว่า สัญญาที่เกิดขึ้นหลัง พ.ร.บ. ร่วมทุน ปี2535 ไม่มีผลผูกพันกับรัฐ ดังนั้น การทำสัญญา ใหม่ที่ถูกต้อง ควรจะเริ่มนับ ตั้งแต่ปีที่สัญญาผิด ทั้งนี้ ส่วนแบ่งรายได้ใหม่ที่มีผลย้อนหลัง นั้น จะเป็นความรับผิดชอบร่วมกันหลายฝ่าย คือ เอกชน บอร์ดทีโอที หรือ กสทฯ และเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในเวลานั้น สำหรับแนวทางการเจรจาส่วนแบ่งรายได้ใหม่ โดยที่ไม่ยกเลิกสัญญาถือเป็นแนวทางที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เห็นชอบด้วย แต่หากเอกชนยังตั้งแง่ หรือ ไม่ยอมเจรจา ไอซีทีสามารถเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อยกเลิกสัญญาสัมปทานทั้งหมดได้ แต่ยืนยันว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะเลือกใช้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++