สัมมนา”สุญญากาศทางการเมือง ฉุดเศรษฐกิจไทยสูญเปล่า?”
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดสัมมนา”สุญญากาศทางการเมือง ฉุดเศรษฐกิจไทยสูญเปล่า?” โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และมี นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้า แห่งประเทศไทย นายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นวิทยากรสัมมนา ณ ห้องนภาลัย บอลรูม โรงแรมดุสิตธานี เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 3 สิงหาคม 2549
ปาฐกถา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เรื่อง “ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน”
ในงานสัมมนา “สุญญากาศทางการเมือง ฉุดเศรษฐกิจสูญเปล่า?”
วันที่ 3 สิงหาคม 2549 ณ โรงแรมดุสิตธานี
อย่างที่ทราบกันว่า ตอนนี้มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนออกมาชี้แจงตัวเลขภาวะเศรษฐกิจของปีนี้ และที่คาดคะเนสำหรับปีหน้า แตกต่างกันหลายทัศนะ หน่วยงานของรัฐหลายแห่งเริ่มปรับการคาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ลดลง นักเศรษฐศาสตร์บางคนออกมาพูดว่า เศรษฐกิจในปีหน้าของเราจะขยายตัวเพียง 2 % คำว่า 2% ทำให้หลายตนตกใจกลัวพอสมควร จึงได้มอบหมายให้ทีมงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทบทวนการคาดคะเนเศรษฐกิจใหม่อีกครั้งหนึ่งอย่างละเอียด ด้วยเจตนาที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง ให้สาธารณชนได้รับรู้ ในสิ่งที่เห็นว่าน่าจะใกล้เคียงความจริงมากที่สุด สิ่งใดที่ดีก็จะบอกว่าดี สิ่งไหนที่เป็นจุดอ่อนก็จะบอกว่าเป็นจุดอ่อน เพื่อทุกคนจะได้ เตรียมตัวเผชิญความจริง และช่วยกันทำให้แข็งแรงขึ้น
และที่สำคัญ คือ ในสิ่งที่ไม่ดีจะได้ไม่ตระหนกตกใจจนเกินไป ก่อนพูดในอนาคตขอย้อนไปปีที่แล้ว ครึ่งปีแรกของปีก่อน และจะมีอะไรเกิดขึ้นตามจากนั้น ใน 18 เดือนที่ผ่านมา คือเมื่อต้นปีที่แล้วถึงกลางปีนี้ ประเทศไทยเจอศึกหนักโดยตลอด แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังขยายตัวได้ในอัตราที่น่าพอใจ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าเศรษฐกิจของเราปัจจุบันอยู่ในฐานะที่แข็งแรง และมีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในและนอกประเทศได้เป็นอย่างดี ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Reservedly เรามีเศรษฐกิจที่ Reversal ดีทีเดียว จุดที่พิสูจน์ก็คือ ดูปี 2548 ก่อน ในตัวเลขปี 48 เห็นได้ชัดว่าต้นปี 48 เจอภัยเศรษฐกิจทั้ง 4 ชนิดพร้อม ๆ กัน สึนามิ ภัยแล้งจากปี 47 ที่ส่งผลถึงปี 48 แล้วก็น้ำมันราคารอบแรกอย่างแรงเลย
แล้วอีกอันหนึ่งคือ ตอนนั้นวัฏจักรการส่งออกลงต่ำมาก ๆ เราเจอพร้อมกัน 4 เรื่อง ปรากฏว่าเราก็ยังจบปี 48 ด้วยการเติบโตถึง 4.5% ซึ่งต้องบอกว่าน่าพอใจทีเดียว กับภาวะเศรษฐกิจทั้ง 4 ตัวพร้อมกันในปีเดียว 4.5 % ที่ได้มาจากปี 48 นั้นเรามีตัวไหนเป็นตัวสำคัญ หรือส่งเสริมการขยายตัวในปี 48 มาก เห็นได้ชัด คือ ในขณะที่การท่องเที่ยวตกมากๆ ในตอนสึนามิ ในขณะที่ Export ก็โตเพียง 4.3% เท่านั้นเอง ที่บอกว่าโต 16-17% นั้นเป็นราคาสินค้า 12-13% ตัวปริมาณสินค้าโต 4.3% คือ Inrealterm โต 4.3 % ฉะนั้นตัวที่สำคัญมี 3 ตัว คือ ตัวแรกเรียกว่า การบริโภคภาคเอกชน โต 4.4% นั่นคือ Inrealterm นะ ถ้าบวกราคาเข้าไปด้วยเกือบ 10% นะ และการลงทุนภาคเอกชน ในปี 48 ขยายกว่าปี 47 สูงถึง 11.2% Inrealterm เหมือนกัน ถ้าบวกราคาเข้าไปด้วยขึ้นไปถึง 16-17% เลย
ฉะนั้น สุดท้ายคือ ค่าใช้จ่ายภาครัฐซึ่งสูงปีที่แล้ว Inrealterm สูงถึง 12.1% ถ้าเป็นในเรื่องของตัวเงินก็สูงถึง 15-16% สูงกว่า 47 นั้นคือภาพในปี 48 ซึ่งโดนอะไรรุนแรง โดนExport Tourise ตก จะมีตัวอื่นมาช่วยเศรษฐกิจเราจะดีอย่างนี้ตัวหนึ่งตกตัวหนึ่งจะดี ปี 49 ครึ่งปีแรกเราโดนเหตุการณ์ 2 อย่าง อย่างแรกคือ น้ำมันขึ้นราคารอบสองสูงมาก กับสองสถานการณ์ การเมือง ซึ่งเรียกว่า สุญญากาศทางการเมือง หรือว่าว่างเว้นอะไรไม่ก็ไม่รู้ เมื่อโดน 2 ตัวนี้ เราก็ชักกลัวเหมือนกันแต่ปรากฏว่า อัตราการขยายตัวของ GDP นั้นโตถึง 5.4% ในครึ่งปีแรก ในไตรมาสแรกสูงถึง 6 % เพราะว่าฐานของปีที่แล้วต่ำ ส่วนไตรมาส 2 นั้น ขณะนี้ตัวเลขยังไม่เป็นทางการ สภาพัฒน์ฯ คงออกมาตรงกว่านี้ 4.7 หรือ 4.8 ไม่แน่ใจ ผมใช้ประมาณ 4.2 ไปก่อน รวมแล้วโดยเฉลี่ยก็ 5.4% แล้วอะไรที่ทำให้มันโตได้ขนาดนี้ ตัวสำคัญมี 2 ตัว คือ อันแรกเป็น Tourise นะ การท่องเที่ยวขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด ในไตรมาศ 1 สูงกว่าปีที่แล้ว 21 % ในไตรมาศสองสูงกว่าปีที่แล้ว 16% ถ้าเฉลี่ยทั้งไตรมาศก็สูงถึง 19 % อันนี้คือส่งที่เกิดขึ้นจริง และอีกตัวหนึ่งที่ช่วยได้มากคือ การส่งออก การส่งออกนั้นจะเห็นได้ว่าใน Inrealterm ในไตรมาศหนึ่งสูงถึง 12.1% อันนี้เป็นปริมาณของที่ออกนะ ถ้าบวกรคาด้วยก็สูงถึงประมาณ 16 % ราคามีผลแค่ 4% แต่ของที่ออกจริงๆ คือ12% ตัวนี้แหละที่ฉุดเศราฐกิจไทยให้ดตในครึ่งปีแรก
ในขณะที่ตัวอื่นการบริโภคภาคเอกชนนั้นถึงจะลดลงบ้างจาก 4.4% จากปีที่แล้วเหลือ4% การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว4% Inrealterm ต้องบอกว่าดี เพราะ GDP deflator มี 6 % แปลว่าภาคเอกชนยังบริโภคในรูปของเงินที่ใช้ยังสูงกว่าปีที่แล้ว 10 % ในไตรมาสที่ 1 ลดลงนิดหนึ่งไม่ได้ถ่วงเศรษฐกิจมาก ตัวที่ช้าและถ่วงเศรษฐกิจ คือค่าใช้จ่ายภาครัฐ ค่าใช้จ่ายภาครัฐในไตรมาส 1 ในปีปฏิทิน ติดลบ ลดลงจากไตรมาส 1 ของปีที่แล้ว อันนี้ถ่วงมากหน่อย อีกตัวหนึ่งที่ชะลอลงคือ การลงทุนภาคเอกชน ซึ่งเคยเจริญเติบโตปีที่แล้วขยายตัว 11.6 ปีนี้ขยายตัวครึ่งปีแรกเพียง 6 % เท่านั้น เศรษฐกิจที่ Resereal นั้น เมื่อตัวหนึ่งพลั้งอีกตัวหนึ่งเติมได้ เมื่อตัวหนึ่งน้อยอีกตัวหนึ่งมันขึ้นมาได้
ฉะนั้นในภาวะสุญญากาศทางการเมือง ที่ออกมาพูดกลัวกันนักหนาว่ารัฐบาล รายจ่ายภาครัฐไม่มีเดี๋ยวเศรษฐกิจจะตก แต่ค่าใช้จ่ายภาครัฐลดลงจริง ๆ แต่ถามว่าเศรษฐกิจตกไหม ไม่ตก เพราะว่ามันมีตัวอื่นมาเสริม เศรษฐกิจไทยไม่ได้อยู่ในมือรัฐเท่าไหร่หรอก เศรษฐกิจประเทศไทย GDP ประเทศไทยอยู่ในมือรัฐเพียง 26 หรือ 27 % เท่านั้นที่เหลือมันอยู่ในมือเอกชน ถ้ารัฐเกิดชะลอลงบ้าง ด้วยเกิดสุญญากาศทางการเมือง ถ้าเอกชนยังเดินอยู่ผู้บริโภคยังบริโภคอยู่ และผู้ส่งออกยังส่งออกอยู่ เศรษฐกิจมันไปได้ นี่คือข้อพิสูจน์ที่แท้จริงว่า สุญญากาศทางการเมืองใน 6 เดือนแรกที่ผ่านมา ได้ฉุดเศรษฐกิจไทยอย่างที่คนนึกนะ ที่น่าสนใจคือ แนวโน้มจะเดินต่อไปในครึ่งปีหลังนั้น จะเป็นอย่างไร ถ้าดูจากตัวเลขในไตรมาส 1ไตรมาส 2 นั้น จะเห็นได้ว่า สิ่งที่เรียกว่า PI คือ การลงทุนภาคเอกชนนั้นมีแนวโน้มขยายตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ในไตรมาส 1 เติบโต 7.2% ซึ่งปีที่แล้ว 11.1 ไตรมาส 2 เหลือ 4.9 เท่านั้น ณ ปัจจุบัน อัตราการผลิตเพิ่มสูงขึ้น 76 % ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเศรษฐกิจบูมก่อนวิกฤต แต่นี่มาจากความไม่แน่นอนของราคาน้ำมัน ซึ่งกระทบต้นทุนการผลิต ผมเห็นใจภาคเอกชน เพราะต้องให้แน่ใจว่าราคาน้ำมันจะขึ้นจะไปหยุดที่ไหนและคำนวณต้นทุนให้ชัดเจนก่อนที่จะนำเงินไปลงทุน ได้ อันนี้ประการแรก ประการที่ 2 ความไม่แน่นอนทางการเมืองทำให้นักธุรกิจยังไม่เร่งลงทุน แต่รอดูแต่รอดูเหตุการณ์ทั้งการเมืองและราคาน้ำมัน
ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าครึ่งปีหลังนั้น การลงทุนภาคเอกชนก็จะชะลอตัวลงไปสักระยะหนึ่ง จนกว่าทุกอย่างมันจะแน่นอนขึ้น ซึ่งน้ำมันตอนนี้ก็ใกล้จะแน่นอนแล้ว การเมืองก็ใกล้เต็มที่แล้ว ผมเห็นใจนักลงทุน คงต้องดูอีกสักระยะหนึ่ง จาก Model ของเราการขยายตัวการลงทุนภาคเอกชนในครึ่งปีหลังคงจะลดลงมาอีกเหลือประมาณ 3.5-4.5% เท่านั้นไม่น่าจะสูงกว่านี้ นี่จากการคาดคะเนของเรา ถ้าภาคเอกชนะไม่เชื่อ ไปเร่งลงทุนก็จะเป็นผลดีแก่ประเทศชาตินะ ในเรื่องของการบริโภคนั้นก็ชัดเจน มีการขยายตัวลดลงต่อไป ได้อีกเล็กน้อย เพราะในไตรมาสที่ 1 นั้นขยายตัว 4.1 Inrealterm ไตรมาสที่ 2 3.8 จะมีความรู้สึกหงอยเหงานิดหน่อยจากสถานการณ์ปัจจุบัน แต่เชื่อว่าคงจะไม่ลงไปมากเท่าไหร่ เพราะจากเดิมลดลงต่ำลงมาจนต่ำ 4% นั้น เป็นการลดลงของการบริโภคสินค้าคงทน เช่น ตู้เย็น อย่างมาก 2 ตู้ พวกนี้ซื้อจนอิ่มตัวมันก็จะลดตัวนั่นเอง แต่สินค้าที่กินใช้หมดไป อย่างที่ สหพัฒน์ฯ ขายนะ กินใช้หมดไปไม่ลงเพราะดูจาก VIT ที่เก็บไว้ยังขึ้นอยู่เลย ถ้าคุณสันติมาบอกว่าลงแสดงว่าตั้งใจหลบภาษี
ฉะนั้น เมื่อกินไปใช้ไปไม่ลงเท่าไหร่ ประกอบกับรายได้ประชาชนจากประชาชนทุกภาค ตั้งแต่ภาคเกษตรก็สูงขึ้น เพราะราคาพืชผลปีนี้เทียบกับปีที่แล้ว 25-30% เป็นอย่างนี้มา 3 ปีแล้ว การจ้างงานก็เพิ่มขึ้น ค่าจ้างขั้นต่ำก็สูงขึ้นและเงินเดือนราชการก็สูงขึ้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลงก็เริ่มกระดกขึ้นแล้ว และที่สำคัญรายได้จากภาคเกษตรพืชผลหลักสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อรายได้ทุกภาคมันสูงขึ้น ของกินใช้จึงไม่ตกการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่ใกล้ๆเดิมอาจจะลดลงมานิดหน่อย ครึ่งปีที่ 2 นี้จะขยายตัวการบริโภคอยู่ระหว่าง 3-4% Inrealterm เหมือนกัน ซึ่งขั้นต่ำ 9-10% ในรูปของ Monyterm ก็หมายถึง เศรษฐกิจยังเดินอยู่ด้วยภาคเอกชน การบริโภคภาคเอกชนสูงถึง 56% GDP ถ้าตัวนี้เปลี่ยนเยอะเมื่อไหร่ ยุ่งเมื่อนั้น การส่งออกเองก็มีแนวโน้มลดบ้าง เพราะยอดขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกเริ่มชะลอตัวลง ต้องเรียนสภาอุตสาหกรรมฯไว้ด้วย ราคานำมันก็ทำให้การบริโภคโดยรวมของโลกก็เริ่มลดลงนิดหน่อยแล้ว เพราะราคาต้นทุนที่สูงขึ้น นี่เป็นธรรมชาติ ช่วงไหนราคาน้ำมันสูงขึ้นการบริโภคทั้งโลกจะลดลง สัญญาณที่ส่อให้เห็นว่าการส่งออกสินค้าระหว่างประเทศจะลดลง คือยอดสินค้าวัตถุดิบสำหรับสินค้าออกบางประเภทลดลงอย่างเห็นได้ชัด
และจากการสอบถามผู้ส่งออก จากอุตสาหกรรมต่างๆ พบว่าคำสั่งซื้อที่ได้รับและคาดว่าจะได้รับสำหรับการส่งออกสินค้าประเภทวงจร ไอที ยานยนต์ ยาง สิ่งทอ เครื่องปรับอากาศ และอัญมณี จะชะลอตัวในไตรมาสที่ 2 แต่การชะลอตัวไม่ใช่ไม่โต ยังขยายตัวแต่ในอัตราที่ลดลง เพราะว่ามีเรื่องของฐานปีที่แล้วด้วยจากการ Serway ทั้งหมด จากการที่ดูสต๊อค สต๊อกวัตถุดิบที่นำเข้าลดลงเพื่อมาผลิต ถ้าเขานำเข้าวัตถุดิบน้อยลง แสดงว่ามีการนำเข้าน้อยลงจริง คาดว่าการขยายตัวการส่งออก Inrealterm ในครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงค่อนข้างมาก เพราะฐานปีที่แล้วของครึ่งปีหลังสูงกว่าครึ่งปีแรกด้วย และจากสินค้าเมื่อกี้ชะลอตัวด้วยนะครับ การท่องเที่ยวยังเดินต่อไปตามเดิม โดยรวมแล้วตัวที่เรียกว่า การส่งออก ทั้งสินค้าและบริการ เราก็คาดว่าจะขยายตัวถึง 3.5-4.5% และถ้าเป็น Inmonyterm ในตัวเงินประมาณ 9-10%
ขณะเดียวกัน การนำเข้าคงจะกลับมาเร่งตัวขึ้น เพราะได้ลดต่ำลงมากในภาคแรก เราดูแต่ละตัวเลยบางอันต่ำมากในที่สุดก็ต้องกลับมา ในสต๊อกน้อยกว่าที่ควรจะมีที่จำเป็นก็นำเข้ามากขึ้น ก็จะทำให้ยอดนำเข้าสูง 6-7 % Nets Export คือเอา 2 ตัวนี้ลบกันคือยอดส่องออกสุทธิลดลงมาก ฉะนั้นได้ตัว Nets Export ไม่ใช่ตัวที่จะช่วย GDP ในครึ่งปีหลังนี้โต ทวนอีกทีนะ การลงทุนในภาคเอกชนก็จะลงจนกว่าทุกอย่างจะเคลียร์ ถึงสิ้นปีนี้คงจะเคลียร์แล้วช้ากว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว นักลงทุนต้องการความมั่นใจ การบริโภคลงไม่มาก ยังใกล้ 4 อยู่ ต่ำกว่า 4 นิดหน่อย ตัวที่ลงมากเชื่อว่าเป็นการส่งออก ขยายตัวลดลง
และถามว่า เราเอาอะไรมาช่วยให้มันเติบโตไปได้ แปลกแต่จริงรายจ่ายภาครัฐเราลงไปเจาะแล้ว แม้ว่ายังไม่มีการอนุมัติงบประมาณใหม่ในปีนี้ แต่ว่าการพิจารณาวงเงินในปี 49 ก็จะเหลือเบิกในไตรมาศ 3 ในปีปฏิทินหรือไตรมาศ 4 ในปีงบประมาณ คือ ก.ค. – ต.ค. ดูตัวนี้แล้วดูจากอัตราการจ่าย ปรากฏว่ากระทรวงคลังทำหน้าที่จริง ๆ คือให้มีการเร่งจ่ายด้วย ปรากฏว่าให้มีการจ่ายออกมากในไตรมาสที่ 3 นี้นอกจากนั้นก็เป็นฝีมือกระทรวงคลังอีกในสิ่งที่เหลื่อมจ่ายไปในไตรมาศที่เหลือในปฏิทิน ซึ่งเป็นไตรมาส 1ในปีงบประมาณปีหน้า ก็จะมีการเร่งจ่ายให้เกือบหมดเลยด้วย 2 ตัวนี้บวกกัน นับตัวเลขที่มันมีอยู่ในกระเป๋าและตามอัตราจ่ายจริง ปรากฏว่าจะทำให้ไตรมาศที่สามและสี่ ในปีปัจจุบัน จะมีรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้น เป็นตัวเงินเพิ่มจากปีที่แล้ว 11.4 % เทียบครึ่งปีที่แล้ว คือ สิ่งที่จ่ายช้าในปีแรก ก็เร่งจ่ายในไตรมาสสุดท้ายในปีงบประมาณกับที่เหลื่อมจ่ายในปีหน้า กระทรวงคลังทำงานดีมากเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจชะงัก ที่เหลื่อมจ่ายก็ให้มีการจัดจ่ายให้เร็วที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยตัวนี้เองตัวเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มสูงขึ้นถึง 11.4 % ถ้าหาก GDP Deflator 6.2% แล้วก็คงเหลือรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้น Inrealterm ประมาณ 5% กว่า ๆ เราถึงใส่ 5-6% เวลารายจ่ายภาครัฐเพิ่มจากลบเป็นบวก Inrealterm 5-6% นี่ก็คือตัวที่จะทำให้ GDP ในเศรษฐกิจ ของเราจะโตต่อไปได้
จากอันนี้ทั้งหมดเราเอามารวมแล้วใส่โมเดลแล้ว ก็คาดคะเนได้ว่า GDP ในครึ่งปีหลังจะขยายตัว 3-4% Export จะลงชั่วคราวเนื่องจาก สต๊อกเก็บน้อยอะไรก็ตาม เนื่องจากความไม่มั่นใจก็เลยไม่กล้ากันเยอะ ได้ Order น้อย และการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงอีกนิดหนึ่ง ยังโชคดีที่มีงบประมาณ ฉะนั้นที่ใครไปบอกว่ารัฐบาลไม่มีงบประมาณจ่ายดูตัวเลขจริง ๆ แล้วมีตั้งเยอะแยะ เพราะอาจจะชะลอตัวตอนไตรมาส 1 ไตรมาส 2 อันนี้เป็นฝีมือกระทรวงคลัง ให้สบายใจได้ มาจากตัวเลขจริงทั้งสิ้น ที่เรารู้ว่าเตรียมจะจ่ายอยู่แล้ว ฉะนั้นในครึ่งปีหลังคงจะโต 3-4% ดูจากกราฟมันน่ากลัวเหมือน DGP ค่อย ๆ ลงทุกไตรมาส คำถามก็คือแล้วที 50 จะเป็นอย่างไร ผมได้ให้พนักงานธปท.เจาะดูปัจจัยด้าน Demand แต่ละตัวของปีหน้าเลย ก็พบว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของการบริโภคภาคเอกชน ปี 49 ทั้งปี เฉลี่ย 3.5-4.5 คงจะไม่ลดลงไปอีกแล้ว เพราอย่างที่ว่ารายได้ประชาชนยังดีอยู่ การจ้างงานเพิ่มอยู่ สินค้ากินใช้หมดไปของสหพัฒน์ฯ ยังขายได้ตามเดิม สินค้าคงทนจะลงบ้างอันนี้เป็นเรื่องหนึ่ง
ส่วน Export เดาว่าคงไม่ดีเท่าปีนี้ เพราะปีนี้งวดแรกมันดีเป็นพิเศษ พิษของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะทำให้การบริโภคของโลกลดลง จากการที่ดูแล้ว Serway ทั้งหมดแล้วสินค้า การบริการ รวมทั้งการท่องเที่ยวด้วยนั้นปีหน้าคงจะโตแค่ 5-6% เท่านั้นและ แต่ 5-6% Inrealterm ถ้าเป็นใน Monyterm ก็ราว 10% ตามเดิม เพราะปีหน้า Intration คงจะอยู่ 4 % ส่วนการนำเข้าอาจจะอยู่ 5-6% Inrealterm เช่นเดียวกัน เพราะมันเริ่มกลับมา Staywal อย่างเดิม Nets Export ก็จะเพิ่ม 5-6% พวกนี้จะช่วยเสริม Gloss ได้ดี ตัวเดียวที่เป็นห่วงกัน คือ ค่าใช้จ่ายรัฐบาลเนื่องจากยังไม่มี การอนุมัติประมาณสำหรับปี 50 ผมก็เลยเอามาคาดคะเนในค่าใช้จ่ายภาครัฐเราก็เชื่อได้ อย่าง Conservation ที่สุดนะ เราหวังว่างบประมาณจะอนุมัติก็คงจะภายในงวดสองของปีหน้า คือ เมษา-มิถุนายน งวดในปีปฏิทิน คือเผื่อไว้เลยเลือกตั้งช้าเร็วไม่ใช่เรื่องของผม ผมต้องเผื่อไว้ก่อน แล้วกว่าจะเริ่มใช้งบประมาณ ในโมเดลของเรา เริ่มใช้ได้เป็น ก.ค. 50 ซึ่งเริ่มใช้ก็จะเร่งเบิกพอควร แล้วนอกจากนี้ในไตรมาส 4 ของปี 50 ซึ่งเป็นงบประมาณใหม่ของปีหนึ่งอีก ก็เชื่อว่ารัฐบาลใหม่จะสามารถนำเสนอให้สภาอนุมัติได้ทันกำหนดตามปกติ ฉะนั้นงบประมาณใหม่ของปี 51 สิ้นปี 50 ถือว่าปกติ ก็จะมีงบประมาณใช้ปกติ ฉะนั้นไตรมาส 4 ปีหน้า จะเพิ่มมากกว่าไตรมาส 4 ปีนี้มากทีเดียว
จากตัวเลขที่เราบอก จากสมมติฐานดังกล่าว พิจารณางบประมาณอย่างครบถ้วนแล้วเราได้ตัวเลขว่า รายจ่ายภาครัฐโดยรวมทั้งหมดในปีหน้ายังจะเพิ่มขึ้น Inrealterm 3-4% ไม่ได้ลดอย่างที่ใครคิด เพราะว่าการเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 3 ของปีปฏิทิน 2550 ได้รับอนุมัติแล้ว ก็จะมีเร่งเบิกจ่ายประการแรก และงบประมาณไตรมาสที่ 4 เป็นงวดแรกของ 2551 เนี่ย สูงกว่าปีนี้มาก เพราะปีนี้เรานิ่งอยู่ ฉะนั้นค่อนข้างชัดนะ นี่เราไล่ทีละไตรมาสเลย เพราะผมห่วงเศรษฐกิจมากกว่า ก็ค่อนข้างชัดรายจ่ายภาครัฐยังจะโต 3-4% Inmonyterm ก็คง 7-8% กระทรวงคลังทำงานอย่างเต็มที่ ค่าใช้จ่ายภาครัฐไม่ได้ฉุด GDP มากอย่างที่ทุกคนกลัว กลัวว่าจะติดลบแต่มันไม่ลบกลับบวกซะอีก
ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวปีหน้าจะเท่ากับปีนี้ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายภาครัฐจะขยายตัว 3-4% ไม่ช่วยเรื่อง Gloss เท่าไหร่ แต่ไม่ได้ฉุดเท่านั้นเอง ตัว Export เองปีหน้าก็จะไม่โตเท่ากับปีนี้ ไม่เท่ากับปีนี้แน่นอน เพราะปีนี้ภาคแรกเหลือเชื่อ ตัวที่จะกลับมาเป็นพระเอกในปีหน้า ผมเชื่อว่าจะเป็นการบริโภคภาคเอกชน เพราะว่าขณะนี้การใช้กำลังผลิตสูงมาก 76% นี้ สูง 76% นี่เฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรมนะ บางอุตสาหกรรมเป็นร้อยแล้ว 90 ก็มี 80 ก็มี ซึ่งในอดีตช่วงเศรษฐกิจบูมสูงสุดแค่ 76 เท่านั้นเอง จาก 76% เนี่ยเข้าใจว่าอั้นอยู่ Export ยังขยายตัวต่อไป จากกำลังการผลิต เอกชนก็ยังบริโภคในอัตราเฉลี่ย 3.5-4.5% ยังมีการซื้อของเพิ่มขึ้นจากกำลังการผลิต เอกชนอั้นไม่อยู่หรอกที่จะลงทุน แล้วผมเชื่อว่าเมื่อสิ้นปีนี้ทุกอย่างจะชัดขึ้น ขณะนี้ราคาน้ำมันก็เริ่มชัดขึ้น ถ้าใช้ Demand Supply ของน้ำมันแล้วไม่มีการสูงกว่านี้ ที่มันกระตุกขึ้นบ้าง ก็เนื่องจากการขัดแย้งระหว่างภูมิภาคนั้นเอง แต่ว่าที่เอกชนคงอยากรอดู อีกสัก 2-3 เดือน ผมว่าคงอยู่อย่างนี้ต่อไป ถ้าเอกชนเห็นว่าราคาน้ำมันอยู่ตัวต่อไปเค้าก็คำนวณต้นทุนได้ ประกอบกับมีรัฐบาลแน่ชัดแล้ว
ผมเชื่อว่าเค้าก็จะลงทุนเพราะมันอั้นมานาน เพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป ตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้น 7-8% ยังไม่ดีเท่า 11% ในปี 48 แต่ก็ให้มันดีขึ้นกว่า ปี 49 ปีนี้เฉลี่ย 4.5-5.5% ปีที่แล้ว 7-8% Inrealterm Inmonyterm คงเป็น 12% เศรษฐกิจที่ Reseal หมายความว่า เมื่อเจอภัยอีกข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งมันมารับไว้เสมอ ด้วยเหตุนี้เอง GDP ที่ลดลงในครึ่งปีหลังของปี49 นี้ ก็จะกลับมาดีขึ้นอีก ไปอยู่ระดับ4-5.25 ในปี 2550 ซึ่งถือได้ว่าจะไม่เลวกว่านี้ ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าพอใจทีเดียวในการอนุมัติงบประมาณล่าช้า คงจะไม่โตแค่ 2 % อย่างที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนระบุและอาจจะโตกว่านี้ก็ได้ ถ้าภาคธุรกิจเอกชนเข้าใจในความสำคัญของตนเองมากขึ้น
กล่าวคือ ในเศรษฐกิจของประเทศไทย สัดส่วน GDP ที่อยู่ในมือเอกชน ที่อยู่ในมือรัฐเป็น 26-27% นั้นที่เหลืออยู่ในมือเอกชน ถ้าภาคเอกชนจะดำเนินกิจการของตัวเองอย่างปกติ ไม่ให้นำหนักของการเมืองมากเกินไป ดำเนินการผลิตเพิ่มและลงทุนเพิ่ม สนองต่อการขยายตัวของภาคบริโภคภายในประเทศ และการขยายตัวการส่งออก ตามที่ควรจะเป็น ก็จะช่วยให้กิจกรรมเศรษฐกิจก้าวพ้นไปได้อย่างต่อเนื่อง และมี Momentum ที่จะขยายตัวได้เร็วขึ้นกว่าที่คาดการอย่างแน่นอน ถึงเวลาแล้วที่ภาคเอกชนจะนำการขยายตัวเศรษฐกิจอย่างที่เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งสนองตอบต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่รอรัฐบาลและให้การเมืองสงบ
ถ้าคิดให้ดีก็จะเห็นได้ว่า ความล่าช้าของการได้มาซึ่งรัฐบาลนั้น มีผลกระทบเรื่องการลงทุนใหม่ ภาครัฐโดยตรงเท่านั้น ถ้าภาคธุรกิจเอกชนยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยและดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจตามปกติ บริโภคตามปกติ ลงทุน ตามที่ควร เพื่อสนองความต้องการบริโภคทั้งในและนอกประเทศ เศรษฐกิจภาคเอกชนซึ่งสูงถึง 72% ของ GDP ก็ยังจะขับเคลื่อนได้เป็นอย่างดี ดังที่เห็นมาแล้วในช่วง 7-8 เดือนที่ผ่านมา
คราวนี้มาดูภาคเงินเฟ้อบ้าง ซึ่งเป็นด้านที่ได้รับผลกระทบจาราคาน้ำมันโดยตรง และทำให้ ธปท. ต้องปรับการคาดคะเนค่าเงินเฟ้อเฉลี่ยสำหรับปีนี้ จากเดิมการคาดคะเนปีนี้จะเป็น 4.5 % ได้ปรับขึ้นเป็น 5-5.75% แต่ในทางตรงกันข้ามเงินเฟ้อที่เคยสูงถึง 6% ในบางเดือนในงวดที่หนึ่งจะค่อย ๆ ลดลงในงวดที่สอง และเมื่อเร็ว ๆ นี้กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศออกมาว่าเงินเฟ้อในเดือน ก.ค. ลดลงเหลือ4.4% แล้วตามที่เราคาดไว้นะ เราคาดว่าลงแต่ไม่ได้บอกว่ากี่ % เราบอกว่าลง ทั้งนี้เพราะในปีที่แล้ว เป็นปีที่เริ่มปล่อยน้ำมันลอยตัวเต็มที่ในเดือน ก.ค. ทำให้ฐานปีที่แล้วสูง ปีนี้ไม่ได้เก่งอะไรหรอก ฐานปีที่แล้วสูง ปีนี้ก็เลยลดลง 4.4% แต่คิดว่าจะลงไปอีก เพราะฉะนั้นการเพิ่มราคาของงวดที่ 2 ของปีที่แล้วจะต่ำกว่างวดที่ 1 อย่างแน่นอน ในครึ่งปีหลังจะต่ำกว่าครึ่งปีแรกอย่างแน่นอน
ส่วนการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ก็ทำให้ลดอัตราเงินเฟ้องวดที่ 2 ของปีนี้ลดช้าไปกว่าเดิม แต่การขึ้นน้ำมันรอบ 2 เนี่ย ซึ่งมันรุนแรงมากในช่วงหลัง มันทำให้เราต้องปรับขึ้น คงจะสูงกว่าที่คาดไว้เดิม แต่คงจะอยู่ใน 4 กว่า ๆ 4-5 นี่แหละ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ถึงเป็นข่าวดีที่ว่า เงินเฟ้อที่สูงผ่านจุดสูงสุดไปแล้วเริ่มอยู่ในระดับที่ลดลง ในปี 2550 และ 2551 เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงไปอีก ด้วยสมมติที่ว่าเหตุการณ์การเมือง ระหว่างภูมิภาคในโลกจะคลี่คลายไปได้ก่อนสิ้นปีนี้ แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าสมมติฐานจะถูกหรือไม่ เพียงแต่เชื่อว่าจะมีโอกาสเป็นไปได้เช่นนั้นมาก ๆ ซึ่งอาจจะช่วยให้ราคาน้ำมันลดลงซะด้วยซ้ำไป
อย่างไรก็ตามในการคาดคะเนของ ธปท. ที่ให้ดูเรื่อง GDP ทั้งหมดนี้เราได้ตั้งราคา สมมติฐานราคาน้ำมันไว้ค่อนข้างสูง ได้ไว้ตามราคาตลาดดูไบอยู่ที่ระดับ 71 ดอลลา ซึ่ง ณ วันนี้ 67 กว่าเท่านั้นเอง ดูไบ 71 ดอลลา ทั้งครึ่งหลังปีนี้และทั้งปีหน้าทั้งปี 71 ดอลล่าห์ เวลาพูดถึงดูไบ 71 ดอลล่าห์ เปรียบเทียบกับ Wetstexus เท่ากับ 74.5 US ทุกคนจะพูด Wetstexus ตลอด 70-80 คือตัวนั้น ขนาด74.5 ขณะนี้ดูไบ 71 ตลาดโลกจริงประมาณ 67-68 เท่านั้น ฉะนั้นเราเผื่อไว้แล้ว ไม่สามารถเผื่อไว้เวลาเกิดสงครามตูมตาม จะขึ้นลงอันนั้นไม่มีใครเดาออก เราก็ต้องเผื่อที่มันสมควร
งั้นโดยสรุปนะครับ ผมอยากจะสรุปว่า เศรษฐกิจในปัจจุบันมีทั้งความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เรียกว่า Reversal พอ ที่รองรับผลกระทบจากปัจจัยลบหลายอย่างได้ค่อนข้างดี จะเห็นได้ตั้งแต่ผลกระทบจากสึนามิ ภัยแล้ง ราคาน้ำมันสูงรอบแรกในปี 48 ผลกระทบจาการขึ้นราคาน้ำมันรอบสอง สุญญากาศทางการเมืองอันวุ่นวายในปี 49 เราก็ยังรับได้ดี เพราะเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวในอัตราที่น่าพอใจ คือประมาณ 4.5 % และเชื่อว่าเมื่อมีรัฐบาลที่ประชาชนยอมรับภายในปีนี้แล้วการลงทุนภาคเอกชนก็จะขยายตัวดีขึ้นในปีหน้า เชื่อว่าเริ่มตั้งแต่ต้นปีเนื่องจากอัตราการผลิตในปัจจุบันเพิ่มสูงมากแล้ว และการลงทุนของภาคเอกชน ที่จะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวเศรษฐกิจใน 50 คือจะกลับมาเป็นพระเอกในปี 50 การลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงในปัจจุบันอาจจะฟื้นกลับมาเร่งกว่าที่คาด หากราคานำมันที่เริ่มทรงตัวไม่ขึ้นต่อไปอีกแล้วและจะเป็นอย่างนี้ต่อไป จนทำให้นักลงทุนเลิกพะวง และหากนักลงทุนจะเลิกพะวงถึงสถานการณ์การเมือง
ซึ่งแท้ที่จริงไม่มีผลต่อธุรกิจเอกชนเท่าใดนัก และเอกชนเข้าใจความสำคัญของธุรกิจภาคเอกชน บริโภคภาคเอกชน และไม่ไปห่วงการเมืองจนเกินไป เราดูธุรกิจของเราไม่ต้องไปเล่นกับเค้าด้วย ผมก็เชื่อว่านักลงทุนจะนัดสินใจลงทุนทางเศรษฐกิจโดยไม่เอาการเมืองมาเกี่ยว เศรษฐกิจประเทศไทยก็น่าจะขยายตัวได้มากกว่าที่ผมคาดคะเนที่สำคัญที่กลัวว่า การว่างเว้นรัฐบาลทำให้ขาดงบลงทุนของภาครัฐ จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวช้าลง เอกชนจึงรีรอเรื่องการลงทุน เอาเข้าจริง ๆ ค่าใช้จ่ายภาครัฐ ปี 49 ทั้งปี ยังสูงกว่าปี 48 โดยอาศัยงบเหลื่อมจ่ายมาช่วยในไตรมาศที่ 4 ของปี และค่าใช้จ่ายภาครัฐปี 50 ก็ยังจะสูงกว่า ปี 49 อีก ได้อธิบายมาแล้วชัดเจน ถ้าเราคิดในทางกลับกันว่า ในระหว่างที่เกิดเหตุว่างเว้นรัฐบาล ถ้าเอกชนขยายการลงทุนโดยไม่พะวงเรื่องการเมือง ดูเรื่อง Factor เศรษฐกิจจริง ๆ ดูเรื่องคำสั่งซื้อ ดูเรื่อง Demand จริง ๆ ผมว่านั่นแหละจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ชะลอการลงทุนภาครัฐที่รองบประมาณอยู่ได้
ที่น่าดีใจ คือ การบริโภคภาคเอกชนนั้น ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่แท้จริง 4% เพราะนั่นคือ 56 % ของ GDP ทั้งหมด ถ้าตัวนี้ขยายตัวในอัตราที่ดี อย่างที่ว่า 4% Inrealterm นี้ เศรษฐกิจไม่น่าจะหยุดต่อไปได้ ก็เลยอยากจะบอกว่าให้นักลงทุนภาคเอกชนได้เข้าใจถึงความสำคัญของตัวเอกงสักที เศรษฐกิจของไทยนั้น พูดได้ว่าเป็น Privet Academe แล้วดูตัวเอง ดูสภาวะเศรษฐกิจ แล้วดำเนินการด้านเศรษฐกิจ ได้ตามที่ตัวเองเห็นนั้นจะดีที่สุด สำหรับประเทศชาติ
อีกประการหนึ่งที่นักลงทุนน่าจะสบายใจ คือว่า อัตราเงินเฟ้อไม่สูงมากจนเกินไป และขณะนี้ที่เริ่มทยอยลดลงแล้ว ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุน ไม่ต้องพะวงเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หากราคาน้ำมันไม่ขึ้นอีก ถ้าไม่เกิดสถานการณ์สงครามในภูมิภาคระหว่างประเทศ ราคาน้ำมันไม่น่าจะเพิ่มไปอีก อาจจะลดลง ถ้าจะว่าไปแล้วสถานการณ์ที่นักลงทุนไทยควรจะคอยติดตามให้มาก ๆ ก็คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระว่างภูมิภาคในโลก เพราะถ้าเกิดแล้วจะกระทบราคาน้ำมันอย่างรุนแรง ไอ้ที่ Focus ไว้ อาจจะต้อง Focus กันใหม่ ควรจะติดตามเรื่องนั้นมากกว่าสถานการณ์การเมืองในประเทศ ในเรื่องการตัดสินใจลงทุนในเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งผมคิดว่าในที่สุดจะคลี่คลายไปได้เองในปลายปีนี้ เราก็จะมีงบประมาณรัฐบาลเมื่อใช้จ่ายลงทุนตามปกติได้ดังเดิม แม้จะช้าไปบ้างก็จะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจถึงขั้นหยุดเดินดังที่กล่าวกันหรือสร้างภาพให้กลัวกันมากเกินไป
…………………….