Home สื่อเศรษฐกิจ เรื่องจากปก

เรื่องจากปก

by admin
1000 views

อย.กับสมาคมนักข่าว
โดย……วิมล ตัน

สืบเนื่องจากคณะกรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกหนังสือพิมพ์ว่า ประสบปัญหาในการทำงาน มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำให้การเสนอข่าว หรือลงภาพผลิตภัณฑ์สินค้าบางรายการถูกทาง อย.ดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับ เนื่องจากเป็นการลงโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาจากทาง อย. ด้วยเหตุนี้ทำให้คณะกรรมการฯ ตัดสินใจที่จะเข้าทำหน้าที่ “สื่อกลาง” ในการประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเข้าใจที่ไม่ตรงกันดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่าเดิม อย. และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้เคยมีการเจรจาหารือในเรื่องดังกล่าวกันมาแล้ว และได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (เอ็ม โอ ยู) ระหว่างกันขึ้นเมื่อปี 2548 แต่เมื่อพิจารณาข้อความในเอ็ม โอ ยู พบว่าอาจจะมีข้อความบางส่วนที่ไม่ทันกับสถานการณ์ ทำให้การทำงานในปัจจุบันยังมีช่องโหว่ ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างสื่อกับผู้ปฏิบัติงานของ อย.อยู่
สืบเนื่องจากคณะกรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกหนังสือพิมพ์ว่า ประสบปัญหาในการทำงาน มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำให้การเสนอข่าว หรือลงภาพผลิตภัณฑ์สินค้าบางรายการถูกทาง อย.ดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับ เนื่องจากเป็นการลงโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาจากทาง อย. ด้วยเหตุนี้ทำให้คณะกรรมการฯ ตัดสินใจที่จะเข้าทำหน้าที่ “สื่อกลาง” ในการประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเข้าใจที่ไม่ตรงกันดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่าเดิม อย. และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้เคยมีการเจรจาหารือในเรื่องดังกล่าวกันมาแล้ว และได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (เอ็ม โอ ยู) ระหว่างกันขึ้นเมื่อปี 2548 แต่เมื่อพิจารณาข้อความในเอ็ม โอ ยู พบว่าอาจจะมีข้อความบางส่วนที่ไม่ทันกับสถานการณ์ ทำให้การทำงานในปัจจุบันยังมีช่องโหว่ ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างสื่อกับผู้ปฏิบัติงานของ อย.อยู่
ดังนั้น สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจจึงได้เริ่มประชุมหารือร่วมกับคณะตัวแทนของ อย.ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2550 และดำเนินการประชุมอีกหลายครั้ง จนได้มาซึ่งข้อสรุปร่วมกันว่า เห็นควรให้มีการปรับความเข้าใจให้ตรงกัน ระหว่างคำว่า “การโฆษณา” กับ “การประชาสัมพันธ์” เนื่องจากการทำงานของนักข่าวในบางครั้งเป็นการเสนอข่าวในแง่ของการช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับสินค้า โดยไม่มีค่าจ้างตอบแทน ซึ่งถือว่าไม่เข้าข่ายการโฆษณาสินค้า ดังนั้น หากมีการนำเสนอข้อความที่สินค้านั้นๆ ไม่ได้รับอนุญาตจากทาง อย. ก็น่าจะอยู่ในข่ายที่ได้รับการผ่อนปรน หรือเว้นโทษปรับจากทาง อย.ได้บ้างซึ่งทาง อย.ก็รับไปพิจารณา โดยเสนอทางออกว่า หากมีการเสนอข่าวหรือข้อความของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด ทางสื่อก็ควรจะมีการพิจารณาลงแก้ไขข้อความให้ถูกต้อง
นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ทาง อย.และสมาคมฯ เห็นตรงกันว่า ควรจะจัดให้มีการพบปะหารือกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การทำงานราบรื่น และมีการประสานการทำงานกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รายละเอียดของการหารือดังกล่าว ได้มีการจัดทำเป็นเอ็ม โอ ยู ฉบับล่าสุด ปี 2550 ขึ้น และได้มีการลงนามร่วมกันเมื่อวันอังคารที่ 8 มกราคม 2551 ณ โรงแรมริชมอนด์ ถนนรัตนาธิเบศร์ ซึ่งมี น.พ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมด้วยนางสาววิมล ตัน นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ และนางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจ ปี 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันและลดการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายด้านการโฆษณาและการเสนอข่าวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อ ซึ่งเนื้อหาในบันทึกข้อตกลง (เอ็ม โอ ยู) ฉบับปี 2550 รวมทั้งกรณีต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีปัญหาเรื่องการลงโฆษณาสามารถติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ อย. ได้โดยดูรายละเอียดที่เว็บไซต์สมาคม www.econmass.com

บันทึกความเข้าใจ
ระหว่าง
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กับสมาคมนักข่าว
นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ
เรื่อง
การโฆษณา เสนอข่าว และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อ พ.ศ. 2551

…………………………………….

เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยการโฆษณาที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเฉพาะที่มีการโฆษณาทางสื่อต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และลดปัญหาข้อโต้แย้งในกรณีที่มีการดำเนินคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการโฆษณา อีกทั้งเพื่อเป็นการประสานความร่วมมือ และสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ในอันที่จะคุ้มครองผู้บริโภค ด้านการโฆษณาให้มีประสิทธิภาพ และเข้มแข็งอย่างมีบูรณาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จึงได้ร่วมกันจัดทำบันทึกความเข้าใจไว้ ดังต่อไปนี้

หมวด 1 บททั่วไป

1. ในบันทึกความเข้าใจนี้
“โฆษณา” หมายความรวมถึง กระทำการไม่ว่าด้วยวิธีใดๆให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า
“การประชาสัมพันธ์” หมายความว่า การที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าว ภาพ หรือบทความ โดยไม่ได้รับประโยชน์ทางการค้า
“ข้อความ” หมายความรวมถึง การกระทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมาย หรือกระทำการอย่างใดๆ ที่ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจความหมายได้
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย หรือซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือบริการ เเละหมายความรวมถึง ผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย
“สื่อโฆษณา” หมายความว่า สิ่งที่ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา เช่น หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ หรือป้าย
“โฆษณาแฝง” หมายความรวมถึงการแสดงสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งมิได้แสดงในรูปแบบของการโฆษณาโดยทั่วไปหรือในสิ่งโฆษณา แต่ได้นำเสนอในรูปของบทความ บทสัมภาษณ์ คอลัมน์ หรือรูปแบบอื่นใดอันมีลักษณะสื่อถึงสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นๆ
“ผลิตภัณฑ์สุขภาพ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง หรือวัตถุอันตราย

2. ข้อกำหนดการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพตามกฎหมาย
2.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์ยา อาหาร และเครื่องมือแพทย์ ผู้โฆษณาจะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนจึงจะโฆษณาได้ ตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531 ตามลำดับ
(1) การโฆษณายา และเครื่องมือแพทย์ ที่กระทำเพื่อประโยชน์ในทางการค้าต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะทำการโฆษณาได้
(2) การโฆษณาอาหาร หากโฆษณาสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของอาหาร เพื่อประโยชน์ทางการค้าไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะทำการโฆษณาได้ แต่ถ้าไม่มีการแสดงสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของอาหารนั้น ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องได้รับอนุญาตโฆษณา
2.2 การโฆษณาเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สามารถโฆษณาได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตโฆษณาก่อน แต่จะต้องแสดงข้อความหรือภาพ ตามที่ข้อกำหนดในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

3. การประสานความร่วมมือ
เพื่อเป็นการป้องกัน ละลดการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ อันจะทำให้การโฆษณาเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง จึงกำหนดแนวทางการพิจารณาและประสานความร่วมมือ ดังนี้
3.1 การเสนอข่าวและประชาสัมพันธ์ ข้อความ ภาพ บทความ หรือการโฆษณาแฝงของสื่อและผู้ประกอบธุรกิจให้คำนึงถึงหลักเจตนาเป็นสำคัญ
3.2 การเสนอข่าวและประชาสัมพันธ์ ข้อความ ภาพ บทความ หรือการโฆษณาแฝง หากก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อประชาชน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไข ให้สื่อเป็นผู้แก้ไข ชี้แจง หรืออธิบายข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย
3.3 ใช้คู่มือเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพตามที่ปรากฏในภาคผนวก เป็นข้อมูลแนวทางประกอบการพิจารณาดำเนินการโฆษณา ดังนี้
(1) ภาคผนวก ก. คู่มือการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับผู้รับผิดชอบสื่อโฆษณา
(2) ภาคผนวก ข. คู่มือแนวทางการพิจารณาข้อความหรือภาพที่มีลักษณะเกินจริง เป็นเท็จ หลอกลวง หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค และอื่นๆ
3.4 ก่อนที่จะโฆษณาผลิตภัณฑ์ยา อาหาร และเครื่องมือแพทย์ในสื่อต่างๆ ให้บรรณาธิการตรวจสอบกับผู้ประกอบธุรกิจในเบื้องต้นก่อนว่าข้อความหรือภาพที่จะลงโฆษณานั้น ได้รับอนุญาตให้โฆษณาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วหรือไม่ หากตรวจสอบแล้วมีใบอนุญาตให้โฆษณา และแม้จะมีข้อความหรือภาพนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาตซึ่งมิใช่เป็นการกระทำของสื่อ การโฆษณาของสื่อนั้น ย่อมไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย
3.5 จัดให้มีการประชุม อบรม สัมมนาร่วมกัน เพื่อประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3.6 การประสานและปรึกษาหารือเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ติดต่อโดยตรงกับหน่วยงานโฆษณาของแต่ละผลิตภัณฑ์ ตามที่ปรากฏในท้ายภาคผนวก ข

หมวด 2 การกระทำที่ไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการโฆษณา

4. การโฆษณา เสนอข่าว และประชาสัมพันธ์ของสื่อที่ไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการโฆษณา
4.1 ผลิตภัณฑ์ยา และเครื่องมือแพทย์ ซึ่งได้รับอนุญาตโฆษณาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือการโฆษณาแต่เพียงภาพลักษณ์กิจการของผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าสื่อจะได้รับค่าจ้างตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
4.2 ผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งได้รับอนุญาตโฆษณาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือการโฆษณาที่ไม่ต้องขออนุญาต ได้แก่ การโฆษณาที่ไม่แสดงสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพ หรือการโฆษณาที่แสดงแต่เพียงชื่อ ประเภทของอาหาร หรือภาพลักษณ์กิจการของผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าสื่อจะได้รับค่าจ้างตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
4.3 ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย ที่ไม่มีการกล่าวอ้างหรือโอ้อวดสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์อันเป็นเท็จหรือเกินจริง หรืออาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นโดยพิจารณาจากคู่มือในภาคผนวก ข. เป็นแนวทาง ทั้งนี้ไม่ว่าสื่อจะได้รับค่าจ้างตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
4.4 การโฆษณา เสนอข่าวและประชาสัมพันธ์ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจได้จัดเปิดตัวสินค้าใหม่เป็นครั้งแรก โดย
(1) ผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องมือแพทย์ที่ไม่มีการกล่าวอ้างหรือแสดงให้เข้าใจได้ถึงสรรพคุณ คุณประโยชน์หรือคุณภาพ หรือได้ระบุแต่เพียงกลุ่มของยาและภาพลักษณ์กิจการของผู้ประกอบธุรกิจ สำหรับกรณีที่เป็นการเสนอข่าวหรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยานั้นจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 88 มาตรา 89 และมาตรา 90 ด้วย
(2) ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ไม่มีการกล่าวอ้างหรือแสดงให้เข้าใจได้ถึงสรรพคุณ คุณประโยชน์หรือคุณภาพ หรือได้ระบุแต่เพียงชื่อและประเภทของอาหาร รวมถึงภาพลักษณ์กิจการของผู้ประกอบธุรกิจ
(3) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย ที่ไม่มีการกล่าวอ้างหรือโอ้อวดสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์อันเป็นเท็จหรือเกินจริง หรืออาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น
4.5 การโฆษณา เสนอข่าวและประชาสัมพันธ์ซึ่งแสดงเฉพาะข้อความตามที่ระบุไว้ในฉลากของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผู้ประกอบธุรกิจได้จัดทำขึ้น สำหรับกรณีที่เป็นการเสนอข่าวหรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยานั้นจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 88 (4) (5) (6) และ (8) ด้วย
4.6 การโฆษณา เสนอข่าว และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสมุนไพรตามที่กำหนดในข้อ 4.1 – 4.5
5. การโฆษณา เสนอข่าว และประชาสัมพันธ์ของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการโฆษณา
5.1 ผลิตภัณฑ์ยา และเครื่องมือแพทย์ ซึ่งได้รับอนุญาตให้โฆษณาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือการโฆษณาแต่เพียงภาพลักษณ์กิจการของผู้ประกอบธุรกิจ
5.2 ผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งได้รับอนุญาตให้โฆษณาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือการโฆษณาที่ไม่ต้องขออนุญาต ได้แก่ การโฆษณาที่ไม่แสดงสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพ หรือการโฆษณาที่แสดงแต่เพียงชื่อ ประเภทของอาหาร หรือภาพลักษณ์กิจการของผู้ประกอบธุรกิจ
5.3 ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย ที่ไม่มีการกล่าวอ้างหรือโอ้อวดสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์อันเป็นเท็จหรือเกินจริง หรืออาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น โดยพิจารณาจากคู่มือในภาคผนวก ข. เป็นแนวทาง
5.4 การโฆษณา เสนอข่าว และประชาสัมพันธ์ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้จัดเปิดตัวสินค้าใหม่เป็นครั้งแรก ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(1) ผลิตภัณฑ์ยา และเครื่องมือแพทย์ ที่ไม่มีการกล่าวอ้างหรือสื่อให้เข้าใจได้ถึงสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพ หรือได้ระบุแต่เพียงกลุ่มของยาและภาพลักษณ์กิจการของผู้ประกอบธุรกิจ สำหรับกรณีที่เป็นการเสนอข่าวหรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยานั้นจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 88 มาตรา 89 และมาตรา 90 ด้วย
(2) ผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีการกล่าวอ้างหรือสื่อให้เข้าใจได้ถึงสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพด้วยแล้ว หรือได้ระบุแต่เพียงชื่อและประเภทของอาหาร รวมถึงภาพลักษณ์กิจการของผู้ประกอบธุรกิจ
(3) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย ที่ไม่มีการกล่าวอ้างหรือโอ้อวดสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์อันเป็นเท็จหรือเกินจริง หรืออาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น
5.5 การโฆษณา เสนอข่าวและประชาสัมพันธ์ ซึ่งแสดงเฉพาะข้อความจากฉลากของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผู้ประกอบธุรกิจได้จัดทำขึ้น สำหรับกรณีที่เป็นการเสนอข่าวหรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยานั้นจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 88 (4) (5) (6) และ (8) ด้วย

หมวด 3 การกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการโฆษณา

6. การโฆษณา เสนอข่าว และประชาสัมพันธ์ของสื่อที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการโฆษณา
6.1 ผลิตภัณฑ์ยา อาหาร และเครื่องมือแพทย์ ที่ไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาซึ่งสื่อได้รับค่าจ้างตอบแทนตามสัญญาว่าจ้าง หรือตามข้อตกลงตามประเพณีในธุรกิจ มีความผิดตามกฎหมายเช่นเดียวกับผู้ประกอบธุรกิจ หรือบุคคลอื่นใดที่มีส่วนร่วมในการโฆษณา
6.2 ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย ที่มีการกล่าวอ้างหรือโอ้อวดสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์อันเป็นเท็จ หรือเกินจริง หรืออาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
6.3 การโฆษณาแฝงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ว่ารูปแบบหรือลักษณะใดที่สื่อได้รับค่าจ้างตอบแทนตามสัญญาว่าจ้าง หรือตามข้อตกลงตามประเพณีในทางธุรกิจ ซึ่งกระทำครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการโฆษณา
7. การโฆษณา เสนอข่าว และประชาสัมพันธ์ของผู้ประกอบธุรกิจที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการโฆษณา
7.1 ผลิตภัณฑ์ยา อาหาร และเครื่องมือแพทย์ ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือใช้ข้อความหรือภาพนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต
7.2 ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย ที่มีการกล่าวอ้างหรือโอ้อวดสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์อันเป็นเท็จ หรือเกินจริง หรืออาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
7.3 กระทำการโฆษณาแฝงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ว่า รูปแบบหรือลักษณะใด ซึ่งกระทำครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการโฆษณา
นอกจากนี้หากท่านใดมีความประสงค์จะลงโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ รวมทั้งหากมีปัญหาเกี่ยวกับข้อความ หรือภาพข่าวที่จะลงโฆษณา สามารถตรวจสอบไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รายละเอียดดังนี้
……………………………………………..

รายชื่อเจ้าหน้าที่ที่เป็นศูนย์กลางการประสานงาน
เรื่องการสอบถามข้อมูลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
รายชื่อ
หน่วยงาน
โทรศัพท์
โทรสาร
ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์

ภญ.สิธยา สุมนานนท์
กองควบคุมเครื่องมือแพทย์
0-2590-7148
08-9679-3739
0-2591-8445
ภญ.คุณภร ตั้งจุฑาชัย
กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง
0-2590-7276
08-9815-2662
0-2591-8468

ภญ.พจนา ภูวนากิจจากร
กองควบคุมเครื่องมือแพทย์
0-2590-7148
08-1720-4312
0-2591-8445
ภญ.สุภัทรา บุญเสริม
กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง
0-2590-7277-8
08-9205-3586
0-2591-8468
ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย
ภก.ชาญชัย วสุธาลัยนันท์
กองควบคุมเครื่องมือแพทย์
0-2590-7280
08-1123-2016
0-2591-8489
ผลิตภัณฑ์ยา ภก.วิบูลย์ เวชชัยชีวะ
กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย
0-2590-7304
08-9811-6867
0-2591-8489

ภญ.พนิตนาฏ คำนุ้ย
กองควบคุมยา
0-2590-7201
08-1563-9654
0-2591-8463
ผลิตภัณฑ์อาหาร

นางนภาพร กำภูพงษ์
กองควบคุมอาหาร
0-2590-7206
08-1986-6461
0-2590-7258
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ภก.ศิริชัย ศุภรัตนเมธา
กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย
0-2590-7304
08-1278-5688
0-2591-8489

ภก.ชานุ หนุนพิทักษ์
กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย
0-2590-7304
08-1839-9440
0-2591-8489
สอบถามกฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ

จ.อ. สุวิทย์ วิจิตรโสภา
กลุ่มกฎหมายอาหารและยา
0-2590-7083
08-6973-1604
0-2590-7093