“ปฏิรูปโครงสร้างภาษี ลดความเหลื่อมล้ำ-คืนความเสมอภาคสู่สังคมไทย”
นายกมล ชวาลวิทย์
สำนักข่าวไทยพับลิก้า
ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้เป็นปัญหาใหญ่ที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับกลุ่มคนรวย จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ปี 2554 ระบุว่า “กลุ่มคนรวยที่สุดของประเทศประมาณ 10% ของจำนวนประชากร 64 ล้านคน คนกลุ่มนี้ครอบครองส่วนแบ่งรายได้ 38.41% ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่คนจนที่สุดมีรายได้ต่ำกว่า 1.678 บาทต่อเดือน หรือ รายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนมีจำนวน 5.1 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 7.96% ของประชากรทั่วประเทศ” ความมั่งคั่งยังไปกระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มคนรวย
ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลพยายามคิดค้นมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจนหลายหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นมาตรการด้านการคลัง หรือ กึ่งการคลัง มุ่งอัดฉีดเม็ดเงินงบประมาณเป็นจำนวนมากลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และขยายโอกาสให้กับคนยากจน
หากไม่นับรวมเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น จริงๆการใช้กลไกทางด้านรายจ่าย ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ปัญหาใหญ่ คือ ขาดข้อมูล “คนยากจนคือใคร -อยู่ที่ไหน” ทำให้การตัดสินใจดำเนินนโยบายประชานิยมเป็นไปในลักษณะของการ “เหวี่ยงแห” ใช้จ่ายเงินงบประมาณเกินความจำเป็น คนรวยเข้ามาใช้ประโยชน์จากมาตรการของรัฐ…
ดาวน์โหลดรายละเอียดบทความ