สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ
เชิญส่งบทความ-เทปภาพ-เทปเสียง
เข้าประกวดชิงรางวัลเงินสด ทุนการศึกษาระดับปริญญาโท
โครงการ”ลับคมความคิดนักข่าวเศรษฐกิจ”
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย จัดโครงการประกวดบทความเชิงวิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจแบบบูรณาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกได้แสดงศักยภาพทางวิชาชีพ พร้อมหวังว่าชิ้นงานที่ส่งเข้าประกวดจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม
เนื้อหาชิ้นงานที่ส่งเข้าประกวด
ชิ้นงาน ต้องเป็นประเด็นข่าวเศรษฐกิจที่มีการวิเคราะห์อย่างรอบด้านและลำดับคามเป็นม าตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน
รูปแบบชิ้นงาน
สื่อสิ่งพิมพ์ และ เว็บไซด์
-บทความความยาว 3.5 – 5 หน้ากระดาษ A4 ตัวพิมพ์ขนาด 14
-เอกสารคำบรรยายแนวคิดชิ้นงาน และแหล่งที่มาของข้อมูล
สื่อโทรทัศน์
-เทปโทรทัศน์ความยาว 5 -10 นาที
-เอกสารคำบรรยายแนวคิดชิ้นงานและแหล่งที่มาของข้อมูล
สื่อวิทยุ
-เทปเสียงความยาวไม่น้อยกว่า 10 นาที
-เอกสารคำบรรยายแนวคิดชิ้นงานและแหล่งที่มาของข้อมูล
คุณสมบัติผู้ส่งชิ้นงานเข้าประกวด
1. เฉพาะสมาชิกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ
2. ส่งชิ้นงานในนามบุคคลหรือกลุ่มไม่เกิน 3 คน
*** หมายเหตุ ส่งชิ้นงานพร้อมสำเนา จำนวน 6 ชุด เพื่อประกอบการพิจารณา
รางวัล
ผู้ชนะการประกวดจะได้รับรางวัลเงินสดรวมมูลค่ากว่า 1 แสนบาท และทุนการศึกษาระดับปริญญาโท มูลค่า 2 แสนบาท พร้อมโล่เกียรติคุณ
ระยะเวลาโครงการ
กำหนดส่งชิ้นงานตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.- 31 ต.ค. 2549
ประกาศผล ในวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคม ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2550
แจ้งรายชื่อคณะกรรมการตัดสินและเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประกวดบทความเชิงวิเคราะห์
ตามที่สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจได้เปิดรับสมัครให้สมาชิกเขียนบทความส่งประกวดและสิ้นสุดการรับสมัครวันที่ 31 ตุลาคม 2549 นี้นั้น สมาคมฯ ของแจ้งชื่อคณะกรรมการตัดสิน ดังนี้
นายบัณฑิต รัชวัฒนะธานินทร์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ เป็นประธาน
และคณะกรรมการคัดเลือกประกอบด้วย นางธัญญา สุรัสวดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายงานบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนางสาววิมล ตัน นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ
และได้มีการวางกรอบหลักเกณฑ์การให้คะแนนประเด็นละ 20 คะแนน ทั้ง 5 ประเด็นหลัก รวม 100 คะแนน ดังนี้
1.ประเด็นแหลมคม
-มีความชัดเจนในประเด็น
-มีความน่าสนใจ
2.ข้อเท็จจริงถูกต้อง
-ข้อมูลดี
-มีองค์ความรู้
3.ตรรกะการนำเสนอ (Logic)
4.การใช้ภาษาที่เหมาะสม
-เข้าใจง่าย
-ชวนติดตาม (อ่าน)
-ความถูกต้องทางภาษา
5.ข้อคิดเห็น ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
-Impact
-Practical
ส่วนเงื่อนไขสื่อสิ่งพิมพ์ เดิมได้กำหนด 3.5-5 หน้ากระดาษ A 4 แต่คณะกรรมการเห็นสมควรให้เปลี่ยนแปลงเป็นการกำหนดตัวอักษรจำนวน 1,500-2,000 คำ
และสื่อโทรทัศน์ วิทยุ ไม่ต้องกำหนดเวลา
หมายเหตุ : ทุกสื่อส่งต้นฉบับพร้อมสำเนาจำนวน 6 ชุด และfile เอกสารลงใน distettes อีก 1 ชุด