เสียงของความสุข จากกิจกรรมเล็กๆ เพื่อสังคม
โดย….สุขสุดใจ
กิจกรรมเพื่อสังคมเล็กๆ ของสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ด้วยการนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลงไปสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้กับเยาวชน ในโรงเรียน วัดปากสมุทร ตำบลแหลมใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม ภายใต้โครงการ”เสริมสร้างความรู้ อยู่อย่างพอเพียง ที่เริ่มต้นดำเนินการมาตั้งแต่กลางปี ที่แล้ว ถือเป็นความพยายามที่จะสร้างแรงกระตุ้น ให้กับชุมชนเล็กๆ ได้สร้างบทเรียนแห่งความสุขของตัวเองขึ้น บนฐานของความมีเหตุผล ความพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี
กิจกรรมเพื่อสังคมรูปแบบใหม่ของสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแนวการช่วยเหลือสังคมแบบเดิม ด้วยการบริจาคเงินและสร้างห้องสมุด ที่ค่อนข้างจะเห็นผลในเชิงรูปธรรมในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร มาเป็นแนวทางการช่วยเหลือสังคม ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยเริ่มตั้งแต่ การส่งทีม ลงพื้นที่ โรงเรียนวัดปากสมุทร เพื่อรับทราบปัญหา กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม ระหว่างโรงเรียน ผู้นำชุมชน วัด และชุมชน ในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกัน โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง
ถึงแม้จะใช้เวลานานและไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่หากลองไถ่ถามความรู้สึกของคนในชุมชน โดยเริ่มจากคนในโรงเรียน ก็พอจะได้ยินเสียงของความสุข ดังออกมาจากครูและนักเรียน บ้างแล้ว ซึ่งนั่นอาจจะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ ของกิจกรรมเพื่อสังคมครั้งนี้ของสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ หากกระบวนการต่อไป สามารถที่จะสร้างให้เสียงเหล่านั้น ดังขยายออกไปนอกรั้วโรงเรียนถึงผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และชาวบ้านในชุมชนนั้นๆ อย่างยั่งยืน
เราลองมาฟังเสียงแห่งความสุขเล็กๆ ที่เริ่มต้น จากคนในโรงเรียนวัดปากสมุทร
ที่เล่าถึง กิจกรรมเพื่อสังคม ของสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ดูพอเป็นตัวอย่าง
อาจารย์เสาวลักษณ์ สุระประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงเรียน วัดปากสมุทร ฯ ได้พูดถึงกิจกรรมเพื่อสังคม ที่เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ของสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่า เศรษฐกิจพอเพียง มีความหมายยิ่งใหญ่ เป็นพลังที่จะสร้างรากฐานของชีวิต ให้มั่นคงและยั่งยืน พวกเราชาวโรงเรียนวัดปากสมุทร จึงมีความมุ่งหวังที่ จะสร้างลูกหลานของเรา ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง ตามแนวปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ขอขอบคุณทีมงานสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้มาให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการเรียนรู้เพื่อชีวิตที่พอเพียง ของโรงเรียนวัดปากสมุทร ซึ่งมีส่วนเป็นกำลังใจและพลังความคิด ที่ส่งให้พวกเราได้ร่วมกันทำงานนี้ เพื่อสร้างเยาวชนที่มีหัวใจ…พอเพียง ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ต่อไป”
อาจารย์ จิตวรรณ จันทร์แย้ม และ อาจารย์พิสมัย สุขศรี อาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์
พูดถึงโครงการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ว่า รู้สึกดีใจที่ทางสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ได้เข้ามาช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เห็นถึงเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูป ธรรมตามสภาพ ท้องถิ่นอย่างชัดเจน
ซึ่งน่าจะมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสม เพราะที่ผ่านมา โรงเรียนมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆอย่างจำกัด ทำให้การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ยังไม่เต็มรูปแบบเท่าที่ควรจะเป็น
น.ส.นิตยา ดิษแพ (แน๊ท) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร.ร.วัดปากสมุทร พูดถึงความประทับใจ กิจกรรมที่สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดร่วมกับโรงเรียน ว่า หนูรู้สึกประทับใจ มีความสุข และสนุกมากๆ ค่ะ ที่พี่ๆ จากสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจนำของขวัญ ของรางวัล และขนม มามอบให้เด็กนักเรียน โรงเรียนวัดปากสมุทร ควบคู่ไปกับการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
น.ส.วลี การะเกต นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 บอกว่า ขอบคุณพวกพี่ๆ ได้มาช่วยเรื่องโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโ รงเรียนวัดปากสมุทร เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะทำให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนของเรา รู้จักการพอเพียง การอดออม และที่พวกพี่ๆ ได้มาร่วมในงานวันเด็ ก ทำให้หนูและทุกคนในโรงเรียน รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่พี่ยังคิดถึงพวกหนู
น.ส. ยุพา ปานประทีป (หนู) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 บอกว่า หนูรู้สึกดีใจสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ที่เข้ามาร่วมจัดกิจกรรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและร่วมสนับสนุนกิจกรรมในวันเด็ก ทำให้เด็กนักเรียนโรง เรียนวัดปากสมุทร สนุก คึกคัก พร้อมได้ความรู้มากขึ้น ครั้งหน้าถ้าโรงเรียนมีกิจกรรม อยากให้สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจมาร่วมจัดกิจกรรมอีกค่ะ
นายบุญอุ้ม เอี่ยมพิมพันธ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้บอกถึงความรู้สึกของเขาในฐานะตัวแทนเด็กนักเรียนโรงเรียนวัด ปากสมุทร ว่า การที่สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ได้ร่วมมือกับโรงเรียนวัดปากสมุทร จัดกิจกรรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้มีความ หวังว่าโรงเรียนวัดปากสมุทร จะพัฒนาไปในทางที่ดี ในด้านการเรียน และต้องการให้พัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
ให้ดีขึ้น
การทำงานเพื่อสังคม เป็นเรื่องของการเสียสละและแบ่งปัน และที่สำคัญต้องมีเจตนาที่ดีที่จะช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริง ทำให้คิดไปว่า บางทีรูปแบบและกระบวนการทำงาน เพื่อสร้างแรงกระตุ้นภายในใจของเด็ก เยาวชน ตัวเล็กๆให้เข้มแข็ง อาจจะสำคัญมากกว่าเงินที่ทุ่มลงไปเพื่อช่วยเหลือสังคมด้วย วิธีที่นิยมกัน คือ การบริจาคเงิน หรือแจกสิ่งของ ซึ่งถึงแม้ว่าผู้ให้และผู้รับจะรู้สึกถึงความสุขในทันที แต่คล้อยหลังจากไปไม่นาน อาจจะมีเสียงของความทุกข์ ตะโกนออกมาก็เป็นได้ กรณีของเงินบริจาค เพื่อช่วยเหลือเหตุการณ์ สึนามิ ที่ภาคใต้ น่าจะเป็นตัวอย่างได้ดี